การสื่อสารกับทีมงานด้วย Empathy

          ในการทำงานยุคปัจจุบันที่โลกแห่งการสื่อสารเปิดกว้างและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ผู้คนย่อมจะเข้าถึงกันได้มากกว่าเดิม องค์กรหลายองค์กรก็สามารถหาบุคลากรที่เหมาะกับงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมผ่านโลกออนไลน์ที่ไร้ขีดจำกัด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ในยุคปัจจุบันการแข่งขันในการหางานก็สูงขึ้นตามไปด้วย

          แต่ถ้าคุณจะบอกว่าการหาบุคลากรที่มีคุณภาพว่ายากแล้ว การรักษาพวกเขาเอาไว้เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า เพราะปัจจุบัน ผู้คนให้ความสนใจกับนโยบายการดูแลพนักงานและบุคลากรมากกว่าเดิมมาก ถ้าหากว่าองค์กรยังมี Mindset เรื่องการจ้างงานว่าบุคลากรเป็นเพียงแค่ “ เครื่องมือ ” อยู่เหมือนเดิมละก็ เตรียมบอกลาบุคลากรคุณภาพของคุณได้เลย เพราะบุคลากรคุณภาพที่คุณเลือกหามาอย่างดี ย่อมจะเป็นคนที่มีมีความสามารถ และองค์กรที่ต้องการคนที่มีความสามารถก็ไม่ได้มีแค่องค์กรคุณองค์กรเดียว ถ้าหากว่าคุณปฏิบัติกับพวกเขาเหมือนเครื่องมือสร้างผลลัพธ์ก็เตรียมตัวมองพวกเขาเดินออกจากคุณไปหาบริษัทคู่แข่งคุณได้เลย ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถรักษาบุคลากรคุณ๓พของคุณฌอาไว้ได้ก็คือ Empathy

            Empathy คือ การเข้าถึงกันอย่างลึกซึ้ง การเอาตัวเองเข้าไปยืนอยู่ในจุดยืนของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแท้จริง สิ่งที่ทำให้ Empathy เป็นปัจจัยหลักในการรักษาความสัมพันธ์กับทีมของคุณก็เพราะว่า Empathy คือการเข้าใจกัน และการเข้าใจกันก็หมายถึงการไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการไว้เนื้อเชื่อในกันเท่ากับว่าคุณจะเป็นทีมที่แข็งแกร่งและพร้อมที่จะเติบโตไปด้วยกัน และการสื่อสารก็เป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงให้เห็นถึง Empathy ของคุณที่มีต่อทีมงาน

1. ฟังอย่างตั้งใจ

             จุดตั้งต้นที่จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงคนรอบตัวหรือว่าทีมงานของคุณได้ก็คือ “ การฟัง ” เพราะการฟังนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้คุณได้รับรู้และเข้าใจในมุมมองหรือแง่คิดและตัวตนของพวกเขาแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ออกมาแสดงตัวตนของตัวเองในพื้นที่ที่เหมาะสมอีกด้วย ซึ่งการเข้าถึงตัวตนของพวกเขาในลักษณะนี้เนี่ยแหละที่เป็นก้าวแรกในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยการเข้าถึงกันหรือการมี empathy ซึ่งกันและกัน

             แต่การฟังในที่นี้ก็ไม่ได้หมายถึงว่าให้เรารูดซิบปากให้สนิทเวลาที่พวกเขากำลังพูดอยู่เท่านั้น แต่เป็นการเคลียสมองและความคิดทุกอย่างของเราออกไปเพื่อให้เราจดจ่อกับคำพูดของพวกเขาเท่านั้น เพราะพวกเราหลายคนเอาแต่คิดถึงและใส่ใจกับสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูดออกไป จนลืมที่จะสนใจและฟังสิ่งที่คนตรงหน้ากำลังสื่อสารอย่างจริงจัง และเมื่อพวกเขาพูดจบ อย่าเพิ่งพูดต่อทันทีประหนึ่งจะบอกกับพวกเขาว่า นี่ตาฉันพูดแล้วนะ พยายามทำความเข้าใจและทวนความเข้าใจในแบบของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขาพูดออกมาเสียก่อน จากนั้นค่อยตั้งคำถามต่อยอดจากคำพูดของพวกเขาอีกที

              เมื่อคุณหยิบยื่นพื้นที่ให้คนอื่นได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น พวกเขาก็จะสร้างพื้นที่ในการสื่อสารให้กับคุณเช่นกัน เมื่อคุณรับฟังแล้วเข้าใจพวกเขา ไม่ใช่แค่พวกเขาจะอยากฟังคุณ แต่พวกเขาจะให้น้ำหนักกับคำพูดของพวกคุณมากพอที่จะนำเอาไปปรับใช้กับความตั้งใจของพวกเขาอีกด้วย

2. สังเกตและเรียนรู้วิธีการสื่อสารของพวกเขา

             แน่นอนว่าในสังคมการทำงานพวกคุณจะมีโอกาสให้ทำงานกับคนหลากประเภทหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าแค่คน Extravert และ Introvert ก็มีธรรมชาติในการสื่อสารที่แตกต่างกันออกไปแล้ว Introvert ส่วนใหญ่จะรุ้สึกว่าการสื่อสารกันเป็นหมู่คณะในเวลานาน ๆ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างดูดพลังชีวิตของพวกเขาพอสมควร ดังนั้นคุณอาจจะต้องพยายามหาเวลาไปคุยกันส่วนตัวโดยที่คำนึงถึงประเด็นและรัดกุมเป็นหลัก พยายามหลีกเลี่ยงการคุยนอกเรื่องออกทะเลจนเกินไป แต่กับคนกลุ่มที่เป็น Extravert คุณจะสังเกตได้ว่าพวกเขาจะขับเคลื่อนได้ดีเมื่อต้องสื่อสารกันเป็นกลุ่มใหญ่ เอาเป็นว่าถ้าต้องประชุมรวมแล้วละก็ คุณเตรียมพื้นที่ในการพูดเอาไว้ให้พวกเขาได้เลย พวกเขาต้องการมัน แต่ข้อควรระวังเล็กน้อยก็คือ Extravert ในแนวโน้มที่จะควบคุมกระแสการสนทนามากเกินพอดีอยู่บ่อย ๆ ดังนั้นถ้าหากว่าคุณสังเกตเห็นได้ว่าพวกเขากำลังเครื่องติดเครื่องแรงเกินไป คุณอาจจะต้องหาเวลาส่วนตัวนอกรอบมาเตือนให้พวกเขาระวังมากขึ้นสักหน่อย

             แน่นอนว่าแต่ละตนย่อมจะมีวิธีการสื่อสารในแบบที่ตัวเองถนัด ดังนั้นอย่ากลัวที่จะถามวิธีที่พวกเขาสบายใจในการสื่อสาร และเมื่อคุณได้คำตอบมารแล้วก็อย่าลืมทีจะสนับสนุนพวกเขาให้พวกเขาได้สื่อสารในพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่พวกเขาสบายใจ

3. พัฒนาการสื่อสารของตัวเอง

             แน่นอนว่าการสื่อสารที่ดีควรจะเป็นการสื่อสารทั้งสองทาง เมื่อเราเป็นผู้ฟังที่ดีแล้วเราเองก็ควรจะเป็นผู้พูดที่ดีด้วย แต่การที่จะประเมินตัวเองตลอดเวลานั้นก็อาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่สักหน่อย ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีอย่างหนึ่งก็คือการพยายามขอ feedback จากเพื่อนร่วมทีม

             หลายคนอาจจะมองเรื่องการขอ feedback เกี่ยวกับการสื่อสารเป็นเรื่องที่แปลกสักหน่อย แต่การปรับตัวเข้าหากันในลักษณะนี้มีผลเรื่องการเข้าถึงกันมากกว่าที่คุณคิด เพราะทีมของคุณจะสัมผัสได้อย่างชัดเจนว่า ไม่ใช่คุณแค่พยายามจะฟังพวกเขาอย่างเดียวเท่านั้น แต่คุณยังพยายามเลือกวิธีพูดที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อคุณและตัวเขาเอง ดังนั้นเขาจะเริ่มให้ feedback กับคุณไม่มากก็น้อย ซึ่งความเห็นเหล่านั้นนั่นแหละที่จะทำให้คุณสามารถประเมินตัวเองได้ดียิ่งขึ้นว่าคุณมีจุดอ่อนไหนที่ควรจะต้องพัฒนาในการสื่อสาร และเมื่อพวกเขาเห็นคุณเริ่มปรับตัวทีละน้อย พวกเขาจะเริ่มสัมผัสได้เองว่าคุณกำลังพยายามเข้าหาเข้า เข้าถึงและเข้าใจพวกเขาอยู่

4. ควบคุมอารมณ์ด้วยสติ

             บ่อยครั้งในการทำงานที่คุณจะเจอกับปัญหาและความกดดัน และสองสิ่งนี้ก็จะนำมาซึ่งความเครียด และความเครียดจะเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้คุณสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร

             บางครั้งความเครียดและความกดดันนี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวคุณ แต่อาจจะเกิดขึ้นกับทีมของคุณที่คุณกำลังสนทนาด้วยอยู่ ดังนั้นควรจะต้องมีสติกับการสังเกตอารมณ์ของทั้งตัวคุณเองและคู่สนทนาของคุณ สิ่งสำคัญคือ เมื่อคุณสัมผัสถึงอารมณ์ได้แล้ว ให้ความสำคัญกับอารมณ์นั้นซะ

             หลายคนเคยผ่านการอารมณ์เรื่องการสื่อสารหรือการพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ จนบ่อยครั้งมักจะเอาสคริปหรือคำพูดจากการอบรมเหล่านั้นออกมาพูดซ้ำไปมาเหมือนเป็นเครื่องบันทึกเสียงไปเสียอย่างนั้น พยายามหลีกเลี่ยงการสนทนาลักษณะนี้ เพราะผู้ฟังจะรู้สึกเหมือนคุณเป็นเครื่องยนต์อะไรสักอย่างที่ทำได้แค่พูดตามบทที่ท่องจำมาไว้เฉย ๆ ไม่ใช่คนที่จะสามารถเข้าใจในสิ่งที่เขาพยายามจะสื่อสารจริง ๆ ดังนั้นลงทุนเรื่องเวลาในการทำความรู้จักและให้เวลากับอารมณ์ของทีมงานอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าคุณมีเรื่องสำคัญจะต้องคุยกับทีมของคุณ แต่คุณสังเกตได้ว่าทีมของคุณอารมณ์บ่จอยแบบสุด ๆ  ถ้าหากสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อสารไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนอะไร คุณอาจจะลองเลื่อนไปคุยกันก่อนพวกเขาจะเลิกงานพอดี เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ต้องกลับไปทำงานต่อในทันที เป็นต้น

5. ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง

             หลายครั้งที่ผู้นำทั้งหลายนอกจากจะยืนอยู่บนตำแหน่งของตัวเองแล้ว ยังยืนอยู่ในอีโก้กองมหึมาของตัวเองโดยที่ไม่รู้ตัวอีกด้วย และหนึ่งสัญญาณที่จะทำให้คุณรู้ว่าคุณอาจจะกำลังอยู่บนอีโก้ของคุณอยู่คือ คุณเริ่มไม่ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง และคุณจะเริ่มพยายามหาข้อผิดพลาดของทีมงานคุณมาร่วมรับผิดชอบในข้อผิดพลาดของคุณด้วย

             หรือบางครั้งถ้าหากว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นระหว่างบทสนทนา เช่น ถ้าหากว่าคุณพูดลดคุณค่าการทำงานของทีมงานคุณโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ การยอมรับผิดว่าคุณได้ทำให้พวกเขาเสียความรู้สึกจะส่งผลดีมากกว่าการบอกว่าคุณไมได้ตั้งใจและพยายามแก้ตัวหลายเท่า เพราะถ้าคุณแก้ตัวว่าคุณไม่ได้สื่อสารออกมาให้มีความหมายแบบนั้น นั่นหมายความว่าในตอนนี้นอกจากคุณจะลดคุณค่าการทำงานของพวกเขาแล้ว คุณยังจะลดคุณค่าเรื่องความรู้สึกของพวกเขาอีกด้วย ประโยคที่คุณจะต้องจำและเตือนตัวเองเอาไว้เยอะ ๆ เลยก็คือ คุณไม่มีสิทธิไปบังคับความรู้สึกของพวกเขาว่า พวกเขาควรจะต้องรู้สึกในแบบที่คุณตั้งใจเท่านั้น คุณทำได้แค่พยายามเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้น และปรับตัวจากความรู้สึกของพวกเขาเป็นหลัก

             เมื่อบทสนทนาเริ่มมีอารมณ์ลักษณะนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง การสนทนาก็มักจะออกจากประเด็นการประชุมหรือการทำงานกลายเป็นอารมณ์มากกว่า การควบคุมอารมณ์และการหาจุดกึ่งกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ และเริ่มเดินหน้าการประชุมต่อจากตรงนั้น

            หลายคนอาจจะมองว่าในช่วงเวลาการทำงานที่โกลาหลแต่ละวันก็วุ่นวายพออยู่แล้ว การจะเอาเวลามาลงทุนกับการจัดการอารมณืของทีมงานจะเป็นเรื่องที่คุ้มค่าจริงหรือ ? ลองพิจารณาดูว่าความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมาจากอะไร เพราะถ้าคุณสังเกตดี ๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นจากความวุ่นวายเหล่านั้นมาจากการทำงานเป็นทีมที่ยังต้องพัฒนา ซึ่งก่อนที่จะพัฒนาขึ้นได้ถ้าหากว่าคุณและทีมของคุณ ไม่เข้าใจกัน และไม่เชื่อใจกัน คุณจะเอาเวลามาแก้ปัญหารายครั้งไป แก้ครั้งนี้เร็วก็จริงแต่ครั้งหน้าคุณก็ต้องมานั่งแก้ใหม่ กลับกันถ้าหากว่าคุณใส่ใจและกล้าลงทุนเวลาของคุณในการสร้าง Empathy ในทีม ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่คุณคนที่ต้องมาแก้อีกต่อไปเพราะคุณมี “ ทีม ” ที่เป็นทีมจริง ๆ ทีมที่พร้อมจะลุยกับปัญหาด้วยกันจริง ๆ และทีมที่พร้อมจะเติบโตด้วยกันจริง ๆ

             ถ้าวันนี้คุณจะเห็นปัญหาอยู่ แทนที่คุณจะไปไล่บี้ทีมของคุณเหมือนทุกที คุณอาจจะต้องหันกลับมามองตัวคุณเองแล้วล่ะว่า ในตอนนี้คุณมี Empathy ให้กับทีมของคุณมากพอแล้วหรือยัง ? 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line : @LifeEnricher

Facebook: TheLifeEnricher

โทร: 02-017-2758, 094-686-6599

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า