Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

วิธีสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่ใคร ๆ ก็อยากจะร่วมงานด้วย

             ในสังคมยุคปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลก็ไม่ได้เป็นที่เรื่องที่เกินกำลังเหมือนสมัยก่อนที่ต้องลากตัวเองเข้าไปในห้องสมุด สมัยก่อนเวลาสงสัยหรืออยากรุ้อะไรก็อาจจะต้องโน้ตเอาไว้ เพื่อที่เวลาจะเข้าไปหาข้อมูลอะไรจะไม่ได้ลืมว่าหัวข้อที่เราสนใจคืออะไร สมัยนี้ต่อให้เราอยู่บนรถไฟฟ้าก็จะสามารถหาข้อมูลที่ตอบข้อสงสัยของเราได้ทันที ไม่ต้องกลัวลืม ไม่ต้องเข้าไปหาในห้องสมุด ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายในปัจจุบัน ทำให้คนเราสามารถหาตัวเองเจอง่ายขึ้นกว่าเดิม จะสังเกตได้ว่าตอนนี้มีธุรกิจที่เริ่มเจาะตลาดใหม่ ๆ แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น มีแอพพลิเคชั่นในการหาคู่เกิดขึ้นมา ลองย้อนกลับไปสมัยที่ยังไม่มี Smartphone ว่าตอนนั้นใครจะคิดว่าแอพหาคู่จะเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนหนุ่มสาวในสมัยนี้ได้ หรือมีธุรกิจการรับตรวจสภาพบ้าน ที่ในสมัยก่อนที่จะมีเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารอาจจะไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเหล่านี้ได้

             ในเมื่อคนเรามีตัวเลือกในการสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเป็น Start-up เกิดขึ้นใหม่เยอะแยะเต็มไปหมด ทุกคนพร้อมที่จะลองเข้ามาเล่นในสนามการแข่งขันของธุรกิจที่แข่งจันกันอย่างเข้มข้น ซึ่งสิ่งที่สังเกตได้จากธุรกิจเปิดใหม่ก็คือ เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ติดปัญหาในการเติบโต เพราะทุกคนที่เริ่มทำธุรกิจ ล้วนแต่เป็นคนที่มีความสามารถเฉพาะทาง แต่สุดท้ายไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนเขาก็จะมีข้อจำกัดว่า พวกเขามีแค่สองมือสองเท้า และมีเวลาเพียงแค่ 24 ชม. ต่อวัน และนั่นทำให้เขาไม่สามารถเติบโตไปเกินกว่าที่ข้อจำกัดของคนหนึ่งคนจะทำได้ นั่นทำให้พวกเขาเลือกที่จะขยายธุรกิจด้วยการหาทีมงาน หาคนที่มีความสามารถมาร่วมทำงานด้วยกัน เริ่มลงทุนให้สองมือสองเท้าของพวกเขา และลงทุนเวลาของพวกเขา แลกกับผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่พวกเขามอบให้กับธุรกิจของคุณ

             ปัญหาที่เกิดขึ้นจะอยุ่ตรงนี้ เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น โจทย์ของผู้ประกอบการจะไม่ใช่แค่การพัฒนาทักษะของตัวเองเพื่อพัฒนาสินค้าเท่านั้น โจทย์ข้อใหญ่ของคุณคือการบริหารคน การบริหารพลังงานที่คอยขับเคลื่อนธุรกิจของพวกคุณ ซึ่งแน่นอนว่าต้นตอของพลังงานที่คอนดันธุรกิจของคุณให้เดินไปข้างหน้าได้นั้นไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีความคิดเป็นของตัวเอง มีมุมมองเป็นของตัวเอง มีความเชื่อเป็นของตัวเอง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยพอ ๆ กับธุรกิจทีเกิดใหม่เลยทีเดียว เพราะถ้าคุณลองพิจารณาดู การที่คนสองคนจะอยู่ร่วมกันได้ก็มีเงื่อนไขมากมายอยู่แล้ว และถ้าคุณหันมาดูว่าคุณกำลังจะสร้างองค์กรที่มีทีมงานหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หรือเป็นหมื่น ๆ คน เงื่อนไขที่เกิดขึ้นคงจะเยอะจนแทบจะนับไม่ไหว แล้วอะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้องค์กรใหญ่ ๆ สามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในองค์กรได้ดี และทำให้ธุรกิจของเขาขยายใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ

             คำตอบก็คือ “ วัฒนธรรมองค์กร “ เพราะวัฒนธรรมคือสิ่งที่กำหนดให้ผู้คนที่อยู่ร่วมกันในวัฒนธรรมเหล่านั้น มีความคิด และการกระทำที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน องค์กรใหญ่ ๆ หลายองค์กรลงทุนกับการสร้างวัฒนธรรมนี้ด้วยทรัพยากรมหาศาล เพราะพวกเขารู้ว่าถ้าพวกเขาไม่สร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับองค์กร พวกเขาจะไม่สามารถบริหารคนให้ขับเคลื่อนธุรกิจของเขาแน่นอน หลายคนที่ทำงานในบริษัทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จะสังเกตได้ว่าบริษัทที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจะมีกิจกรรมบางอย่างที่จัดขึ้นเพื่อพนักงานอย่างต่อเนื่อง บางบริษัทก็จัดอบรมพนักงานใหม่ทุกครั้ง บางบริษัทก็มีกิจกรรมสังสรรค์กระชับความสัมพันธ์ของคนในทีม แล้วในเมื่อวัฒนธรรมมีได้หลากหลายรูปแบบ เราจะตัดสินได้อย่างไรว่า วัฒนธรรมที่เรากำลังสร้างขึ้นนั้น “ ดี “ จริงไหม

             แต่ก่อนจะไปถึงวัฒนธรรมองค์กร คุณอาจจะต้องเข้าใจภาพที่กว้างกว่าสังคมองค์กรของคุณสักหน่อย คุณต้องเข้าใจภาพของวัฒนธรรมในประเทศที่คุณตั้งใจจะตั้งองค์กรของคุณ เข้าใจธรรมชาติของคนกลุ่มใหญ่ที่จะเป็นแคนดิเดตของทีมงานของคุณในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะสร้างองค์กรในประเทศไทย คุณจะต้องเข้าใจว่าคนไทยเป็นคนง่าย ๆ มีคำพูดติดปากว่า “ ไม่เป็นไร “ อะไรผิดพลาดก็ค่อย ๆ แก้ไป อะไรมองข้ามได้ก็ข้าม คนไทยเป็นคนที่มีการนับถือพี่น้องกันในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นระบบพี่น้องที่แตกต่างจากต่างประเทศสักหน่อย บางประเทศมีระบบพี่น้องในแบบที่ไม่เปิดโอกาสที่รุ่นน้องแสดงความคิดเห็นต่อรุ่นพี่ รุ่นน้องไม่สามารถปฏิเสธสิ่งที่รุ่นพี่พูดได้ หรือบางประเทศก็ไม่มีเรื่องอายุเลยว่าใครจะแก่กว่าใคร มีแต่ใครเก่งกว่าใครเพียงอย่างเดียว แต่ประเทศไทยจะมีระบบพี่น้องที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน รุ่นน้องเคารพรุ่นพี่ และในขณะเดียวกันรุ่นพี่ก็ดูแลรุ่นน้อง และยิ่งในสังคมคนรุ่นใหม่ คนต่างอายุกันก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดกันได้อิสระมากขึ้น ความเคารพกันของคนไทยจึงจะแตกต่างกับต่างชาติพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันคนไทยก็จะไม่ได้พูดอะไรกันตรง ๆ พยายามรักษาความรู้สึกกันจนทำให้บางครั้งไม่สามารถสื่อสารอะไรบางอย่างไปตรง ๆ ได้ แตกต่างจากวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอะไรก็พูดตรง ๆ และแก้ปัญหากันตรงนั้นเดี๋ยวนั้นเลย อาจจะมีกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้แตกหักหรือเสียความรู้สึกกันลับหลัง เถียงกันจบตรงนั้นก็ตรงนั้น ถึงเวลาก็ออกมาเฮฮากันปกติ

            ซึ่งถ้าคุณตั้งใจแล้วว่ายังไงองค์กรคุณจะอยู่ในประเทศที่ผู้คนมีวัฒนธรรมประมาณนี้ คุณอาจจะต้องปรับกลยุทธ์ในการรับคนเข้าองค์กรสักหน่อย ทางเลือกของพวกคุณก็คือ ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เข้ากับวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนในประเทศ โดยที่มีกฏเกณฑ์หรือข้อบังคับบางอย่างที่คุณอยากจะให้เปลี่ยนแปลง คุณอาจจะต้องใชเวลาสักหน่อยในการปรับคนที่เข้ามาทำงานในองค์กรของคุณ แต่คุณจะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะไปหมด อีกทางหนึ่งคือคุณก็สามารถที่จะหนักแน่นกับวัฒนธรรมที่คุณอยากจะได้ และเลือกคนที่เหมาะสมกับองค์กรที่คุณวาดฝันไว้จริง ๆ คุณอาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อยในการหาพนักงานแต่ละคน หรือต่อให้หาเข้ามาได้แล้วก็อาจจะไม่ได้ทำงานด้วยกันนานก็แยกทางกันไป แต่คุณจะสามารถสร้างองค์กรในแบบที่คุณต้องการจะให้เป็นได้จริง ๆ

             ซึ่งถ้าถามใครหลาย ๆ คนก็น่าจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากจะสร้างองค์กรด้วยทางเลือกที่สองกันมากกว่าแน่นอน เพราะองค์กรของเราก็เป็นเหมือนกระจกสะท้อนความเป็นตัวเรา ลำพังตอนที่เราทำธุรกิจคนเดียวเรามีคุณค่าของสินค้าและการให้บริการในแบบที่เป็นตัวของเรา และถ้าหากว่าคุณจะหาคนเข้ามาร่วมทำงานและเติบโตไปกับคุณ คุณก็ต้องอยากจะให้ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจคุณ ได้รับประสบการณ์ในแบบเดียวกันกับที่คุณหยิบยื่นให้พวกเขาเหมือนกัน 

             เมื่อแต่ละคนมีการให้คุณค่าที่แตกต่างกัน ดังนั้นคงจะฟันธงได้ยากว่าวัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่จะ “ ดี “ ที่สุด เพราะทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน วัฒนธรรมบางอย่างก็อาจจะเหมาะกับรูปแบบการทำงานของธุรกิจที่มีสินค้าแตกต่างกันออกไป แต่ถึงจะไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าแบบไหน “ ดี “ ที่สุด เราจะสามารถวัดได้ว่า วัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่ “ เหมาะ “ กับองค์กรของเราที่สุด ด้วยการพิจารณาองค์ประกอบหลักสองข้อนี้

 

1 . สร้างความชัดเจน

             ความชัดเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการพัฒนา ไม่ว่าจะพัฒนาอะไรก็ตาม คุณอยากจะพัฒนาตัวเองคุณก็ต้องชัดเจนว่าคุณอยากจะได้อะไร คุณอยากจะพัฒนาทีมงานคุณก็ต้องชัดเจนว่าคุณอยากจะได้อะไร และแน่นอนว่าถ้าคุณอยากจะพัฒนาวัฒนธรรมองค์ของคุณ คุณก็ต้องชัดเจนเหมือนกันว่า ภาพขององค์กรที่คุณวาดฝันไว้เป็นอย่างไร

             “ คุณค่า “ ขององค์กรของคุณคืออะไร คุณค่าในสินค้าและหรือบริการของคุณคืออะไร สมมติว่าบริการของคุณคือบริการออกแบบสวนในบ้าน คุณค่าของคุณไม่ใช่แค่จัดสวนให้สวยงาม แต่เป็นการสร้างพื้นที่ที่เปิดโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวสามารถมาใช้เวลาร่วมกันได้ หรือถ้าสินค้าของคุณคือการขายเสื้อผ้า คุณค่าของคุณไม่ใช่แค่การออกแบบเสื้อให้คนอื่นเห็นว่าสวยอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างความมั่นใจในการเข้าสังคมของลูกค้าของคุณ ให้ลูกค้าของคุณดูดีที่สุดในช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตของพวกเขา ไม่ว่าจะเดทแรก ไปงานรับปริญญาของลูก ไปยินดีกับคู่แต่งงานใหม่ หรือไปสัมภาษณ์งานเพื่อรับโอกาสใหม่ ๆ ในชิวิตของพวกเขา

             ซึ่งการชัดเจนในคุณค่าที่ดีที่สุดในองค์กรอย่างหนึ่งก็คือ ให้คุณค่ากับทีมงานของคุณ ในแบบเดียวกันกับที่คุณตั้งใจจะให้ลูกค้าของคุณ ถ้าสมมติว่าคุณจะทำธุรกิจห้องเสื้อ คุณคงจะไม่บังคับให้พนักงานทุกคนใส่เสื้อโปโลสีพื้นเหมือนกันทุกคน คุณอาจจะให้อิสระในการแต่งตัวกับพนักงาน คุณอาจจะพยายามหาวิธีการสร้างความมั่นใจให้พนักงานของคุณ ลองคิดดูว่าลูกค้าของคุณต้องการชุดตัวเก่งไปออกงานสำคัฐ แต่พนักงานขายของคุณเข้าหาลูกค้าด้วยความไม่มั่นใจกับการแต่งตัวที่ไม่เหมาะกับตัวเขา ลูกค้าของคุณจะไว้ใจให้สินค้าของคุณได้อย่างไร ถ้าหากว่าภาพที่พวกเขาเห็นในทีมของคุณเป็นแบบนี้ กลับกันถ้าหากว่าทีมงานของคุณเข้าหาลูกค้าด้วยความมั่นใจ พร้อมกับการแต่งตัวที่สร้างความประทบใจแรกได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมกับพูดว่า “ ช่วงเวลาสำคัญในชีวิตคุณ ให้เราดูแลเถอะค่ะ “ ด้วยสีหน้าและการวางตัวที่มั่นใจ คุณคิดว่าแบบไหนลุกค้าจะไว้วางใจแบรนด์ของคุณมากกว่ากัน ?

             อย่างต่อมาก็คือ วัฒนธรรมการสื่อสารในที่ทำงาน การส่งต่องาน การให้ Feedback เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่คุณต้องเริ่มทำตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณจะต้องวางแผนไว้เลยว่าถ้าองค์กรของคุณมีเป็นร้อยคน คุณอยากจะให้คนร้อยคนทำงานกันอย่างไร ข้อผิดพลาดของผู้ประกอบการหน้าใหม่คือการ ปล่อยให้เป็นไปก่อนเพราะทีมงานยังน้อยอยู่ แต่วัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้นกับคนไม่กี่คนนั่นแหละ และการวางแบบแผนการสื่อสารและการทำงานเป็นเรื่องที่เปลียนแปลงลำบากเมื่อวัฒนธรรมเหล่านั้นฝังลึกเข้าไปในองค์กรแล้ว วิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ คุณเองก็ต้องทำเป็นตัวอย่างให้พนักงานของคุณเห็น ถ้าคุณอยากจะให้ทุกคนพูดอย่างตรงไปตรงมา คุณเองก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วยเช่นกัน เพราะถ้าคุณเองยังไม่ฟังทีมงานของคุณเลย แล้วคุณจะคาดหวังให้ทีมงานของคุณสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมาได้อย่างไร ซึ่งไม่ว่าคุณจะอยากให้วัฒนธรรมของคุณเป็นอย่างไร ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวคุณว่าคุณจะปฏิบัติตัวอย่างไรกับทีมงานรุ่นบุกเบิกของคุณนั่นแหละ

2 . ถ่ายทอดออกมาให้จับต้องได้

             แน่นอนว่าความชัดเจนนั้นจำเป็นจะต้องเป็นเรื่องที่จับต้องได้ด้วย บางครั้งความชัดเจนมาแล้วเช่น คุณอยากให้พนักงานสุขภาพดี คราวนี้ความสุขภาพดีของใครหลาย ๆ คงจะไม่เท่ากัน คุณเองจะต้องเป็นคนที่ตั้งเกณฑ์ขึ้นมาว่า สุขภาพดีคืออะไร คุณอาจจะตั้งเอาไว้ว่า ต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำปีละสองครั้ง ต้องไม่ป่วยเกิน 4 ครั้งต่อปี หรือถ้าคุณบอกว่าคุณอยากจะให้พนักงานหมั่นพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ คุณอาจจะตั้งเกณฑ์เอาไว้เลยว่า พนักงานแต่ละคนจะต้องมาเสนอการเรียนพัฒนาตัวเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือต้องอ่านหนังสือในหมวดหมู่ไหนกี่เล่มต่อเดือนหรือต่อปี ฯลฯ

             เพราะการตั้งเกณฑ์ จะไม่ได้มีประโยชน์แค่ไหนการวัดผลพนักงานของคุณเท่านั้น แต่เป็นส่วนสำคัญในการรับคนเข้าทำงานกับคุณอีกด้วย ถ้าในห้องสัมภาษณ์คุณถามแคนดิเดตว่าคุณพัฒนาตัวเองเป็นประจำไหม คนส่วนใหญ่ก็คงจะตอบว่า “ ใช่ “ ทั้งนั้น และถ้าคุณให้น้ำหนักกับคำว่าใช่แค่คำเดียว คุณอาจจะไม่เห็นความหมายจริง ๆ ภายใต้คำตอบนั้น การตั้งเกณฑ์ไม่ใช่ตั้งขึ้นเพื่อวัดว่าใครโกหกใครพูดความจริง แต่เป็นการหาความหมายของคำ ๆ นั้นของแต่ละคน เพราะคำแต่ละคำของคนแต่ละคนมีความหมายแตกต่างกันออกไป เกณฑ์ที่จับต้องได้จะทำให้คุณเลือกทีมงานที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของคุณให้เข้ามาเดินทางร่วมไปกันคุณ และร่วมเติบโตอย่างแข็งแรงไปกับองค์กรของคุณได้

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line : @LifeEnricher

Facebook: TheLifeEnricher

โทร: 02-017-2758, 094-686-6599

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า