
สวัสดิการจิตใจ สิ่งที่องค์กรที่ดีควรมี
ถ้าอยากจะสร้างองค์กรที่แข็งแรงและเติบโตได้ดี การสร้างทีมคือความท้าทายสำคัญที่จะเป็นองค์ประกอบ เพราะการขับเคลื่อนย่อมต้องการบุคลากรคุณภาพมาร่วมเป็นแรงผลักดันให้เติบโตเป็นปกติ ผู้นำองค์กรหลายคนไม่ว่าจะเล็กใหญ่ยังไงจะเข้าใจกันดีว่า การหาบุคลากรที่มีคุณภาพเหมาะสมกับองค์กรว่าท้าทายแล้ว การรักษาบุคลากรเหล่านี้ให้อยู่กับทีมของเรา ให้อยู่เป็นแรงขับเคลื่อนให้องค์กรของเราไปนาน ๆ น่าจะเป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่า ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่จะทำให้บุคลากรตัดสินใจทำงานอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่สำคัญก็คงจะไม่พ้นเรื่อง การเติบโตขององค์กร วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร / เจ้าของ และอีกหนึ่งหัวข้อที่สำคัญก็คือ “ สวัสดิการ “
ค่าตอบแทนคือประเด็นหลัก ๆ ที่คนส่วนใหญ่นำมาตัดสินใจเมื่อต้องเลือกบริษัทหรือองค์กรที่จะเข้ามาทำงานด้วย แน่นอนว่าเงินเดือนก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่หลายคนคำนึงถึงกัน แต่ประเด็นเรื่องสวัสดิการก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจไม่แพ้กัน เพราะคนรุ่นใหม่หลายคนให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตโดยรวมมากขึ้น ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะเลือกทำงานกับองค์กรที่ให้สวัสดีการตรงกับการใช้ชีวิตหรือ Lifestyle ของพวกเขามากกว่า
สวัสดิการ คืออะไร ?
คือค่าตอบแทนที่อยู่นอกเหนือจากเงินเดือนเปกติที่อยู่ในสัญญาการว่าจ้าง ซึ่งค่าตอบแทนในส่วนนี้ก็สามารถเป็นได้หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะแบ่งออกมาเป็นสองหัวข้อใหญ่ ๆ ก็คือ
1. สวัสดีการแรงงานตามกฎหมายกำหนด คือ สิ่งที่บริษัทและองค์กรจำเป็นจะต้องมีเพื่อให้สามารถจัดจ้างพนักงานได้ตามกฏหมาย เช่น
- สวัสดิการน้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่า 1 จุด
- เครื่องมือปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
เป็นต้น
2. สวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด คือ สิทธิประโยชน์หรือค่าตอบแทนเพิ่มเติมที่บริษัทพิจารณาจัดหาให้พนักงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งหัวข้อนี้จเป็นหัวข้อสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจก่อนที่จะเลือกสมัครงานในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เช่น
- สวัสดีการ เกี่ยวกับค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับการเดินทาง บางองค์กรมีสวัสดิการรถรับส่งพนักงาน หรือบางองค์กรอาจจะมีการให้ค่าเดินทางเสริมเข้าไปกับเงินเดือนก็ได้ , สวัสดิการเกี่ยวกับมื้ออาหาร บางองค์กรก็มีสวัสดิการอาหารฟรีให้แทนระหว่างวัน , สวัสดิการเกี่ยวกับการสนับสนุนครอบครัวในแง่ของ ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
- สวัสดิการ เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง บางองค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายของพนักงาน ทำให้มีนโยบายเกี่ยกวับการดูแลสุขภาพมากเกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการสนับสนุนค่าสมาชิกฟิตเนสรายเดือน หรือบางองค์กรอาจจะมีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายในตัวก็มี
- สวัสดิการ ในการพัฒนาตัวเอง แน่นอนว่าการพัฒนาตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากว่าคุณเลือกเอาพนักงานคุณภาพเยี่ยมเข้ามาทำงานในองค์กร การส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้จึงเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่องค์กรชั้นนำหลายองค์กรให้ความสำคัญ
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างของสวัสดิการที่องค์กรแต่ละองค์กรจัดขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากรทั้งสิ้น ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่จูงใจหลาย ๆ คนที่กำลังพิจารณาสวัสดิการเหล่านี้ให้อยากเข้ามาร่วมงานด้วยกันมากขึ้นเท่านั้น แต่สวัสดิการเหล่านี้แสดงออกถึงววิสัยทัศน์และการให้ความสำคัญของเจ้าของและผู้บริหารในองค์กรอีกด้วย ซึ่งถ้าหากว่าองค์กรกับให้ความสำคัญตรงกับเรา ก็คงจะไม่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะอยากเข้าไปร่วมงานกับพวกเขา
แน่นอนว่าสวัสดิการต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลทำให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย ช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องค่าครองชีพ ฯลฯ แต่ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่เชื่อว่าหลายคนจะสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ และองค์กรส่วนใหญ่ยังไม่มี สวัสดิการข้อนั้นก็คือ “ สวัสดิการจิตใจ ”
อะไรคือ สวัสดิการ จิตใจ ?
สวัสดิการจิตใจหรือ Mental wellness benefit เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่พนักงานหลายคนอาจจะต้องการมากกว่าที่คุณคิด เพราะในการทำงานทุกช่วงเวลาย่อมจะมีอุปสรรคเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานอยู่แล้ว และอุปสรรคเหล่านั้นก็มักจะมาคู่กับความเครียดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากความกดดันในการทำงาน หรือความเครียดที่เกี่ยวกับการการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกับคนในองค์กร หรือร่วมกับคนนอกองค์กรก็ดี
ความเครียดในการทำงานไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหนก็ตาม ย่อมจะมีผลกระทบต่อการทำงานโดยตรงอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นคนอายุเท่าไหร่หรือเป็นคน generation ไหนก็ตาม อารมณ์และความเครียดเป็นหนึ่งในอุปสรรคของการทำงานอยู่แล้ว แต่หลายองค์กรกลับไม่มีสวัสดิการสนับสนุนเกี่ยวกับสุขภาพจิตลักษณะนี้เท่าที่ควร ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบว่าบุคลากรก็เป็นเหมือนเครื่องจักรที่คอยขับเคลื่อนองค์กร เครื่องจักรต่าง ๆ ยังมีขั้นตอนในการดูแลรายเดือนหรือรายปีตามนโยบาย เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเสียหายจนต้องซื้อใหม่ แต่บุคลากรมีความคิดมีจิตใจ จะดูแลแค่ร่างกายภายนอกเหมือนเครื่องจักรก็คงจะไม่เพียงพอ การดูแลจิตใจภายในก็ถือว่าเป็นหนึ่งสวัสดิการที่มีส่วนช่วยให้บุคลากรมีความสุขในการทำงานมากขึ้น และทำให้มีแนวโน้มที่จะทำงานเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับองค์กรต่อไปได้นานขึ้นด้วย
สวัสดิการด้านจิตใจควรมีอะไรบ้าง ?
เมื่อพูดถึงอารมณ์และจิตใจ คงจะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากขึ้นมาพอสมควรในการดูแล เพราะแต่ละคนก็คงจะมีความคิดความเห็นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งองค์ประกอบสำคัญในการดูแลจิตใจก็คือ “ การฟัง ” ซึ่งผู้ที่จะใช้ทักษะการฟังที่ดีและสามารถพัฒนาสภาวะจิตใตให้กับผู้อื่นได้ จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน
- สภาพแวดล้อมที่ดี
การฟังจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากว่าคนที่มีปัญหารู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดหรือสื่อสาร ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารมากขึ้น การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีก็มาจากวัฒนธรรมองค์กรที่ดี หรือการจัดองค์ประกอบโดยรวมในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
สภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ส่วนใหญ่มาจากผู้นำในองค์กรในทุกภาคส่วนด้วยว่าสามารถเข้าถึงทีมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน มีความเข้าใจทีมงานของตัวเองเพียงพอหรือไม่ และสามารถเป็น “ ผู้ฟัง ” ให้กับพวกเขาได้หรือไม่ ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานที่ต้องใช้การฝึกฝนและความเข้าใจในระดับลึก จีงจะสามารถเข้าถึงจิตใจของคนรอบข้างได้ ทำให้องค์กรชั้นนำหลายองค์กรเลือกที่จะส่งผู้นำในองค์กรของตนเข้ารับการอบรมในทักษะเหล่านี้

- ติดต่อและจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแล
องค์กรบางองค์กรก็เลือกที่จะปรึกษา และทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเกี่ยวกับการดูแลสภาพจิตใจ เพราะสำหรับบางคน การพูดหรือระบายความไม่สบายใจกับคนใกล้ตัวอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สะดวกใจจะทำเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็นคนไกลตัวอาจจะเป็นพื้นที่ที่สามารถพูดและสื่อสารออกไปได้เต็มที่มากขึ้น
ข้อดีขององค์กรที่มีสวัสดิการด้านจิตใจ
แน่นอนว่าคนเราก็ย่อมจะอยากอยู่ในพื้นที่ ที่เป็น Save zone ของตัวเอง และมักจะ perform ได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย สวัสดิการจิตใจก็เป็นเหมือนการสร้าง save zone หรือพื้นที่ที่พนักงานอยู่แล้วรู้สึกสบายใจในการทำงาน และเป็นการสร้างคุณค่าทางใจให้กับพนักงานอีกด้วย ยกตัวอย่างองค์กรชั้นนำที่มีสวัสดิการในการดูแลจิตใจที่ดีอย่างเช่น
Chipotle ร้านอาหารแบรนด์ดังในฝั่งตะวันตก ที่มีนโยบายสนับสนุนการดูแลจิตใจพนักงานด้วยการ partner กับบริษัทอื่น จึงทำให้พวกเขาสามารถสร้างสวัสดิการในการรับการโค้ชแบบ 1 ต่อ 1 ซึ่งจะเปิดโอกาสให้พนักงานแต่ละคนมีโอกาสได้สื่อสารและได้พัฒนาตัวเองผ่านการโค้ชกับโค้ชมืออาชีพ
Pinterest ได้มีการตั้งโครงการ Pinside out ที่เน้นไปในเรื่องการสร้างพื้นที่ในการสื่อสารและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่สบายใจทุก ๆ มุมในชีวิต โดยที่ไม่ได้จำกัดแค่เรื่องการทำงานเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไปเที่ยวกับครอบครัวแฟนที่ทำให้รู้สึกอึดอัด หรือการเรียกร้องสิทธิทางเพศ ผ่านที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากนอกองค์กร
การส่งต่อสภาพจิตใจที่ดีจะส่งผลต่อผลลัพธ์เนื้องานอย่างไร ?
ผลตอบรับจากองค์กรชั้นนำหลายองค์กรที่ประสบผลสำเร็จกับการใช้สวัสดิการจิตใจออกมาเป็นทางเดียวกันว่า สภาพจิตใจที่ดีทำให้ทีมทุกคนสามารถรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองได้ดีขึ้น และทำงานกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นได้ดีขึ้นอีกด้วย ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และนอกจากเนื้องานที่ออกมาดีขึ้นแล้ว อัตราการลาออกขององค์กรที่มีสวัสดิการทางด้านจิตใจลดลงอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line : @LifeEnricher
Facebook: TheLifeEnricher
โทร: 02-017-2758, 094-686-6599