อยากโค้ชเป็น แต่ไม่อยากทำอาชีพโค้ชได้ไหม?

 

ช่วงที่ผ่านมา มีกระแสข่าวจากคำว่า Life Coach ต่างๆมากมายใน Social Media ซึ่งอาจจะทำให้หลายๆคนมีความเข้าใจในการ Coaching ที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะมองว่ามันคือศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต บางคนอาจจะมองว่านี่คืออาชีพที่มีหน้าที่แนะนำวิธีการใช้ชีวิต บางคนอาจจะได้เห็นมุมมองใหม่ๆหลายรูปแบบเกี่ยวกับการโค้ช คนที่สนใจในการโค้ช คนที่อยากจะเป็นโค้ชหรืออยากโค้ชเป็นอาจจะมีคำถามเกิดขึ้นมาว่าจริงๆแล้ว Coaching คืออะไร? และจำเป็นไหมว่าจะต้องทำอาชีพโค้ช จึงจะสามารถโค้ชได้?

คำตอบคือ  Coaching เป็นทักษะในการใช้กระบวนการอย่างหนึ่ง และการใช้ทักษะ Coaching ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องทำอาชีพโค้ช เพราะฉะนั้นทักษะ Coaching ไม่ได้จำกัดไว้สำหรับคนที่จะทำอาชีพโค้ชเท่านั้น ทักษะการโค้ชคือสิ่งที่ผู้นำทุกคน, คนที่อยากพัฒนาตัวเองและคนรอบตัวควรจะมี มันเป็นกระบวนการในการตั้งคำถามให้คิด การฟังระดับลึกอย่างตั้งใจ และสะท้อนให้อีกฝ่ายรับรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ ไม่ใช่การแนะนำหรือบอกความคิดเห็นของตัวเองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นทุกคนสามารถใช้ทักษะการโค้ชให้เกิดประโยชน์ได้ หากเข้าใจและศึกษามาอย่างลึกซึ้ง, ถูกต้อง และหมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

             หลายๆคนอาจจะยังติดใจอยู่ว่า โค้ชไม่แนะนำ/ไม่ให้คำตอบกับเราหรือ? แล้วเราจะสามารถพัฒนาไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร?  Coaching ไม่ใช่การแนะนำแนวทาง และโค้ชที่ดีจะไม่แนะนำโดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตก่อน  Model ใน Coaching คือการ ตั้งคำถาม ซึ่งแตกต่างจากการชี้ปัญหาของ Consult หรือการบอกวิธีการในรูปแบบการ Training

เชื่อว่าคนหลายคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน แต่เส้นทางเดินอาจจะเหมือนกัน หรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์และวิธีการส่วนตัวของแต่ละคน ดังนั้นคำตอบต่อปัญหาและเป้าหมายต่างๆที่ทรงพลังที่สุดจะมาจากตัวเองทั้งนั้น ความทรงพลังของทักษะการโค้ชคือ ผู้ที่ได้รับการโค้ช(Coachee) จะเป็นผู้ที่หาคำตอบให้กับตัวเอง ผ่านการสนับสนุนจากโค้ชในด้านต่างๆ ดังนี้

 

      1. ตั้งคำถามปลายเปิดที่มี Impact สูง 

คำถามปลายเปิดคือเครื่องมืออันทรงพลังที่จะทำให้แต่ละคนเลือกทางเดินของตัวเอง ยกตัวอย่างเปรียบเทียบคือ ถ้าคุณเดินทางมาเจอทางแยก โค้ชจะไม่ดึงมือคุณให้เดินไปทางใดทางหนึ่ง โค้ชจะถามว่าคุณจะเลือกเดินทางไหน คุณอยากเดินทางซ้าย? ขวา? เส้นทางนั้นมันจะพาคุณไปถึงเป้าหมายของคุณใช่ไหม? ถ้าคุณเดินไปทางซ้ายจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? คุณต้องระวังอะไรกับเส้นทางนี้ไหม? คุณจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างในการเดิน?

 

      2. การฟังในระดับลึก

เมื่อ Coaching คือการตั้งคำถาม สิ่งต่อมาที่จะขาดไม่ได้คือการฟัง และการฟังที่ดีควรจะเป็นการฟังที่ไม่มีอารมณ์ของโค้ชเข้าไปตัดสินกับสิ่งที่ Coachee พูดอยู่ (Mind read) นอกจากนั้นการฟังยังสามารถแบ่งความลึกในการฟังออกเป็น 3 ระดับตั้งแต่ระดับ Context  ที่จะรับรู้ประโยคที่พูดคำต่อคำเท่านั้น ต่อมาคือระดับที่ฟังแล้วเข้าใจอารมณ์ในการสื่อความหมายต่างๆของผู้พูด หรือ Tellers Emotion และสุดท้าย คือการฟังระดับที่ลึกลงไปถึงเจตนาที่มีต่อคำพูดของผู้พูด หรือ Intention ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างเข้มข้น และการฝึนฝนอย่างสม่ำเสมอ

      3. Empower

หลังจากที่มีการฟังที่ดี การสะท้อนเพื่อให้ Coachee รับรู้สิ่งที่ตัวเองพูด / การ ให้ความหมายของตัว Coachee เองและเป็น Empower หรือการชื่นชม/ให้กำลังใจ ซึ่งการสะท้อนที่เฉียบคมจะเกิดจากโค้ชที่มีความเข้าใจเป้าหมายของ Coachee และโค้ชจะทำหน้าที่สะท้อน Pattern ที่ Coachee สื่อออกมาผ่านคำพูดของตัว Coachee เอง รวมทั้งสะท้อนแง่มุมอื่นๆที่สื่อออกมาจากสิ่งที่ Coachee พูดด้วย และสุดท้ายพลังของการ Empower ที่ดีคือ การชื่นชมเพื่อให้ Coachee รู้สึกขอบคุณในทรัพยากรและความสามรถที่ตนเองมี เพราะคนส่วนใหญ่ เมื่อเจอปัญหาก็มักจะเห็นโฟกัสแต่ปัญหาที่กำลังเจอ และบ่อยครั้งมักจะลืมความยอดเยี่ยมนับร้อยที่ตัวเองมี โค้ชที่ดีจะสามารถดึงเอาข้อดีต่างๆเหล่านี้ออกมาให้ Coachee เห็นได้อย่างชัดเจน

 

กระบวนทั้งหมดนี้เป็นการปลดล็อกและดึงเอาศักยภาพสูงสุดในตัว Coachee ออกมาโดยที่ไม่มีคำแนะนำจากโค้ชเลย แน่นอนว่าหาก Coachee อยากได้คำแนะนำจากโค้ช โค้ชที่ดีและมีจรรยาบรรณจะตอบในสิ่งที่ตนเองทราบเท่านั้น โค้ชที่ดีจะยอมรับในส่วนที่ตนเองไม่รู้ และไม่อ้างว่าเป็นผู้รู้ทุกสรรพสิ่ง

 

คำถามต่อมาคือ ในเมื่อการ Coaching คือทักษะอย่างหนึ่ง คนที่โค้ชเป็นอยากนำทักษะนี้ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับอาชีพอื่นๆได้หรือไม่?

 คำตอบคือ ได้และเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งหากมีความเข้าใจในทักษะ Coaching ที่ดี ยกตัวอย่าง ด้วยการแชร์เรื่องราวจาก Personal Fitness Trainer ที่มีทักษะ Coaching และนำไปประยุกต์ใช้ในอาชีพ โดยหน้าที่หลักคือการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามเป้าหมายกับคนที่ดูแลสุขภาพ นี่คือส่วนของ Training ที่เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ ปัญหาที่มักจะเจอคือ เมื่อคนได้รับความรู้เหล่านี้แล้ว ไม่นำไปใช้ หรือ ใช้อย่างไม่สม่ำเสมอมากพอ จึงนำทักษะ Coaching มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่ลูกเทรนติดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ลูกเทรนเข้าใจถึงการให้ความหมายต่อเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ ผ่านการตั้งคำถาม การสะท้อนและให้กำลังใจกับสิ่งที่ลูกเทรนเลือก และกำลังทำเพื่อตัวเองและเป้าหมายผ่านการฟังระดับลึก ผลที่ได้ออกมาคือลูกเทรนสามารถทำได้ตามเป้าของตัวเอง เพราะการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากคำตอบที่ลูกเทรนเป็นคนเลือกสิ่งที่ตัวเองอยากทำจากการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ใช่ทำเพราะเป็นคำสั่งของเทรนเนอร์ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีการแบ่งการใช้ทักษะสองประเภทออกจากกันอย่างชัดเจน ด้วยการให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง (Training) และการตั้งคำถามให้ลูกเทรนตระหนักถึงปัญหาและเลือกวิธีแก้ด้วยตัวเอง (Coaching)

 

ดังนั้นการใช้ทักษะ Coaching จะไม่มีข้อจำกัดใดๆทั้งนั้น คุณจะเป็นใครก็ได้ คุณจะประกอบอาชีพอะไรก็ได้ คุณจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ได้ คุณไม่จำเป็นต้องเก่งรอบด้านก็ได้ เพียงแค่คุณตั้งคำถามให้เป็น คุณฟังโดยไม่ตัดสิน และคุณสะท้อนได้อย่างยอดเยี่ยม นี่คือจุดยืนที่ Life Enricher มีต่อทักษะ Coaching และเราเชื่อว่า ทักษะ Coaching จะเป็นอาวุธทรงพลังที่ทุกคนสามารถนำไปพัฒนาตัวเอง และยกระดับชีวิตให้คนรอบข้างได้

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line : @LifeEnricher

Facebook: TheLifeEnricher

โทร: 02-017-2758, 094-686-6599

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า