
...วิธีเอาชนะ เป้าหมาย ชีวิต อย่างสมบูรณ์แบบ...
ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากมีในทุก ๆ ช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ จะอยู่ในสังคมแบบไหน คุณจะต้องการ “ เป้าหมาย ชีวิต “ และไม่ว่าจะเมื่อไหร่ก็ตาม คุณก็จะต้องการให้อยู่กับตัวเสมอ หลายคนอาจจะเพิ่งมาคุ้นเคยกับการตั้งเป้าชีวิต เมื่อเริ่มโตขึ้นมา บางคนรู้สึกกับตัวเองว่ามีการตั้งเป้าหมายครั้งแรกอาจจะเป็นช่วงมัธยมปลายที่ตั้งเป้ากับตัวเองเอาไว้ว่าจะเข้าเรียนคณะที่ต้องการในมหาวิทยาลัยที่คาดหวังเอาไว้ได้ หรือบางคนอาจจะมีความสำเร็จครั้งแรกในตอนที่อยู่ในวัยทำงาน อยากจะซื้อบ้าน อยากจะซื้อรถเป็นของตัวเอง ฯลฯ
แต่เป้าความสำเร็จของทุกคน เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและทุกช่วงเวลา ไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะเล็กจะใหญ่ จะเป็นเป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาวก็ตาม พวกเราคุ้นเคยกับคำว่าเป้าหมายนี้ดี ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่วัยเด็กที่อาจจะมีเป้าหมายแค่อยากจะออกมาเล่นกับเพื่อน ซึ่งความรู้สึกอยากจะออกไปหาเพื่อนแถวบ้านนี่ก็ถือว่าเป็นเป้าหมายได้แล้วสำหรับบางคน เพราะบางคนอาจจะต้องช่วยคุณถ่อคุณแม่ทำงานบ้านบางอย่างก่อนจะออกมาได้ หรืออาจจะต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อนถึงจะออกมาได้ และถ้าคุณพบว่าตัวเองกำลังทำอะไรบางอย่าง เพื่ออะไรบางอย่างอยู่นั่นหมายความว่าคุณกำลังตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองแล้ว ไม่ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
“ เป้าหมาย “ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชิวิตของทุกคน เป็นองค์ประกอบที่มีผลทำให้ทางเดินในชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปคามสิ่งที่ตัวเองคาดหวังเอาไว้ เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแรงผลักดันให้คนหนึ่งคนลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นองค์ประกอบสำคัญให้กับความสำเร็จของชีวิตเรา
แต่ถึงแม้ว่าเป้าหมายจะเป็นองค์ประกอบที่ดีในการผลักดันความสำเร็จในชีวิตของเรา แน่นอนว่าไม่มีอะไรดี 100% ในบางครั้งเป้าหมายก็สร้างอุปสรรคอันใหญ่ให้กับชีวิตของเราเหมือนกัน ซึ่งอุปสรรคนั้นมาชื่อที่ทุกคนคุ้นหูว่า
“ ความสมบูรณ์แบบ ”
ความสมบูรณ์แบบ เป็นแรงผลักดันหรือเป็นภัย ?
หลาย ๆ คนคงจะคุ้นเคยกับคำว่าความสมบูรณ์แบบดี เราคงจะเคยมีคนที่เรานับถือ หรือคนที่เรานับว่าเป็นบุคคลต้นแบบของตัวเองแล้วคิดกับตัวเองว่า “ พวกเขาช่างสมบูรณ์แบบจริง ๆ เราจะเป็นแบบนั้นได้บ้างไหม “ แต่ในทาง NLP หรือจิตวิทยาสื่อประสาทนั้น ความสมบูรณ์แบบอาจจะเป็นภัยบางอย่างที่เราจะต้องมีสติและระวังกับมันให้ดี
เพราะความสมบูรณ์แบบนั้นถ้าจะให้อธิบายสั้น ๆ แล้วคือการตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไป สูงเกินกว่าจะสามารถทำให้เป็นจริงได้ ซึ่งการตั้งเป้าหมายในลักษณะนี้ไม่ใช่การตั้งที่ดีและถูกต้องในศาสตร์ของ NLP เพราะการตั้งเป้าหมายที่ดีนั้นจะต้องสามารถเป็นไปได้ด้วย ถ้าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้เป็นเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุได้แล้ว นอกจากจะเป็นการเสียเวลาเปล่าแล้วยังจะเป็นการบั่นทอนตัวเองอีกด้วย แน่นอนว่าการตั้งเป้าหมายเอาไว้สูงเป็นสิ่งที่จะทำให้คนเราผลักดันชีดจำกัดของตัวเองขึ้นไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่การตั้งเป้าหมายที่ดีควรจะต้องมีบรรทัดฐานในการตัดสินด้วยว่าสามารถเป็นไปได้ไหม มีหนทางที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นได้หรือไม่ เพราะถ้าคุณตั้งเป้าหมายที่ไม่สามารถเป็นไปได้แล้ว คุณอาจจะกำลังพาตัวเองลงไปอยู่ในกับดักของคำพูดสวยหรูที่ถูกเรียกว่า “ ความสมบูรณ์แบบ “ อยู่ก็เป็นได้
ความสมบูรณ์แบบ vs ความเป็นเลิศ
เมื่อมองเผิน ๆ แล้ว “ ความสมบูรณ์แบบ “ กับ “ ความเป็นเลิศ “ ก็อาจจะดูไม่แตกต่างอะไรกันมากมาย แต่ในความหมายเชิงจิตวิทยาสื่อประสาทนั้น สองคำนี้ให้ความหมายที่ต่างกันแบบสุดขั้ว
ความสมบูรณ์แบบ : คือการตั้งเป้าหมายหรือตั้งบรรทัดฐานที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง และการมีความคาดหวังที่ไม่สมเหตุสมผลในลักษณะนี้จะทำให้ตัวบุคคลรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่ตัวเอง และคนรอบข้างสามารถทำได้ การวิ่งไล่ความสมบูรณ์แบบมักจะทำให้ตัวบุคคลหันมาโฟกัสแต่ความล้มเหลว และจุดด่างพร้อยในตัวเอง มากกว่าฉลองและให้รางวัลในความสำเร็จที่เกิดขึ้น เพราะพวกเขาเข้าใจว่า ความสมบูรณ์แบบจะต้องไม่มีคำว่า “ ความล้มเหลว “ ประกอบอยู่ในนั้นความฝัน

คุณอาจจะกำลังเป็นคนที่กำลังวิ่งไล่ตาม เป้าหมายความสำเร็จ อยู่ถ้าหากว่าคุณ
เลือกที่จะไม่ลงมือทำอะไรบางอย่าง เพราะพวกคุณเห็นว่าสิ่งที่คุณทำจะไม่สมบูรณ์แบบ
มีความคาดหวังที่ไม่สมจริง หรือคาดหวังเกินจริงอยู่เสมอ ทั้งกับตัวเองและคนรอบข้าง
ไม่มีอะไรน่าพอใจในชีวิตสักอย่าง
ไม่เชื่อใจคนรอบข้าง เพราะเอาแต่คิดว่าพวกเขาไม่
สามารถทำให้ทุกอย่างเป็นอย่างที่คุณคาดหวังได้
กดดันตัวเองมากเกินไป คุณจะสัมผัสได้ตลอดเวลาว่าการลงมือทำอะไรสักอย่างของคุณมันช่างเต็มไปด้วยความกดดันและอึดอัดเหลือเกิน เพราะคุณกลัวว่ามันจะไม่สมบูรณ์แบบ
ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะกลัวว่าผลลัพธ์จะไม่ได้ออกมาเป็นอย่างที่คาดหวัง

เป้าหมาย ชีวิต ความเป็นเลิศ : คือการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน เป้าหมาย และเส้นทางที่วางเอาไว้ ทำให้คนที่มี “ ความเป็นเลิศ “ อยุ่ในตัวมักจะเป็นคนที่มีความถนัดเฉพาะทางในระดับที่สูงมาก ๆ นั่นเพราะคนเหล่านี้มองความล้มเหลวเป็นการเดินไปข้างหน้ามากกว่าความอัปยศของตัวเอง พวกเขาเปิดรับและเรียนรู้จากมัน ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขาเป็นความสำเร็จในทุก ๆ ช่วงเวลาของตัวเอง และยินดีกับตัวเองในทุก ๆ ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จเหล่านั้น
คุณคือคนที่กำลังเดินในเส้นทาง เป้าหมาย ชีวิต ของความเป็นเลิศ ถ้าหากว่าคุณ…
- รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ
- ยินดีกับทุกความสำเร็จในทุกวัน
- กล้าตัดสินใจ
- กล้าล้มเหลว
- ลงมือทำอะไรบางอย่างได้โดยที่ไม่มีความกดดัน
ความสมบูรณ์แบบที่ถูกปลูกฝังมาในอดีต
หลายคนพอเข้าใจความแตกต่างของความสมบูรณ์แบบกับความเป็นเลิศแล้ว แน่นอนว่าเมื่อรู้ถึงปัญหาก็ต้องหาวิธีทางแก้เป็นธรรมดา แต่บางครั้งไม่ว่าเราจะพูดจะบอกกับตัวเองสักเท่าไหร่ เราก็ดูจะยังไม่สามารถปล่อยวางสิ่งที่เรียกว่าความสมบูรณ์แบบได้เลย ซึ่งก่อนที่จะไปมองที่วิธีแก้ปัญหา ลองมามองต้นตอสักหน่อยดีกว่าว่าควาสมบูรณ์แบบหรือพฤติกรรมการวิ่งไล่ความสมบูรณ์แบบ เกิดขึ้นได้อย่างไร
ในศาสตร์ของ NLP นั้นความรู้สึกหรือความคิดบางอย่างมักจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตเพื่อใช้ในการป้องกันตัวเราจากเหตุการณ์ที่ไม่อยากจะให้เกิดขึ้น ต้นตอของการวิ่งไล่ตามความสมบูรณ์แบบมักจะเกิดขึ้นจากการการถูกคาดหวังไว้สูงจากคนในครอบครัว ซึ่งความคาดหวังลักษณะนี้จะพบเจอได้บ่อยมากในครอบครับของคนเอเชียทั่วไป ที่มักจะตั้งความหวังให้บุตรหลานของตัวเองได้ดิบได้ดี ลูกฉันจะต้องเรียนสายนี้ หลานฉันจะต้องทำงานนี้ ฯลฯ ซึ่งการตั้งความหวังลักษณะนี้บางครั้งไม่ได้ตรงกับความต้องการ หรือไม่ได้ตรงกับเงื่อนไขที่เด็กสามารถทำได้ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นการตั้งความหวังที่ไม่สามารถเป็นไปได้จริงให้กับเด็ก และผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็มักจะกดดันเด็กให้สร้างผลลัพธ์ในแบบที่ตัวเองต้องการ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ผู้ปกครองต้องการ เด็กจะถูกติว่า “ ล้มเหลว “ มากกว่าการยืนมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
เหตุการณ์ข้างต้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้นว่าการหมกหมุ่นอยู่กับความสมบูรณ์แบบเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่ว่าเหตุการณ์จริงจะแตกต่างออกไปจากตัวอย่างที่ยกขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกันในคนที่แสวงหาความสมบูรณ์แบบนั่นก็คือ ประสบการณ์ในอดีตที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก ซึ่งสิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกจะไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถสื่อสารกับตัวเองในแบบปกติหรือในระดับจิตสำนึกได้ ดังนั้นการจะแก้ปมเรื่องความสมบูรณ์แบบ จำเป็นจะต้องสื่อสารกับตัวเองในระดับจิตใต้สำนึก
NLP คือศาสตร์ที่ถูกพัฒนาให้บุคคลสามารถพัฒนาตัวเองได้ด้วยการเข้าใจตัวเอง และหนึ่งในเครื่องมือที่จะใช้เข้าใจตัวเองได้ก็คือการสื่อสารกับจิตใต้สำนึกนั่นเอง และหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงจิตใต้สำนึกได้ก็คือการ Incantation ซึ่งสำหรับใครที่อยากจะศึกษาเพิ่มเติมสามารถอ่านบทความที่เคยเขียนเอาไว้เกี่ยวกับเทคนิคนี้ได้ สรุปสั้น ๆ ก็คือ Incantation เป็นหนึ่งเทคนิคที่จะทำให้เราสามารถปรับความเชื่อของตัวเองในจิตใต้สำนึกได้ผ่านการใช้ภาษาพูดและภาษากายควบคู่กันเป็นประจำนั่นเอง
และนอกจากเทคนิค Incantation แล้ว NLP ยังมีเครื่องมืออีกหลายรูปแบบที่จะสามารถพัฒนาตัวเองตั้งแตระดับจิตใต้สำนึกจนเป็นผลลัพธ์ออกมาได้ ทำให้การใช้ศาสตร์ NLP เป็นที่นิยมอย่างสูงในองค์กรระดับยักษ์ใหญ่ที่มีผู้นำเป็นคนที่ประสบความสำเร็จสูง ด้วยเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ดีทั้งการพัฒนาตัวเองและการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งในสังคมการทำงานในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ทำให้บุคลากรมีแนวโน้มที่จะกดดันตัวเองและหลุดเข้าไปในห้วงของการวิ่งไล่ตามความสมบูรณ์แบบได้ง่าย ๆ องค์กรชั้นนำหลายองค์กรจึงเล็งเห็นและกล้าที่จะลงทุนให้เหล่าผู้นำในองค์กรเข้ามาศึกษาในศาสตร์ของ NLP เพื่อดูแลและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
และต่อให้คุณจะไม่ใช่ผู้นำในองค์กรใหญ่ แต่คุณก็ยังเป็นผู้นำของตัวคุณเอง เป็นผู้นำให้ครอบครัวของคุณ ให้กับคนที่คุณรัก ตอนนี้คำถามอยู่ที่คุณแล้วล่ะว่า คุณจะเลือกเดินทางไหนเพื่อดูแลทั้งตัวคุณเองและคนที่สำคัญของคุณให้ออกห่างจากการไล่ตามความสมบูรณ์แบบ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line : @LifeEnricher
Facebook: TheLifeEnricher
โทร: 02-017-2758, 094-686-6599