Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

เพิ่มประสิทธิภาพของทีมงานด้วยคำถาม 7 ข้อ
สภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ล้วนแต่พัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดหย่อน จึงทำให้เราทุก ๆ คนจำเป็นจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเช่นกัน และถ้าโลกเรายังเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะเวลา แต่เราและธุรกิจของเราไม่หมุนตามโลกไม่พัฒนาและเปลี่ยนแปลง คุณคิดว่าจะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่าในยุคที่การแข่งขันรอบด้านเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทุกคนก็ย่อมจะอยากให้องค์กรของตัวเองพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่ง ตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรของคุณก็คือ “ทีมงาน” ของคุณนั่นเอง และในฐานะผู้นำ หน้าที่สำคัญของคุณอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรที่อยู่ภายใต้การดูแลของคุณ ด้วยเป้าหมายที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ส่งผลดีต่อองค์กรโดยรวม
การสอนและถ่ายทอดมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธี Training , Mentoring , Consulting หรือ Coaching ทุกอย่างล้วนมีจุดเด่นในการพัฒนาบุคลากรในแบบของตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นการ Training ที่จะทำให้บุคลากรของคุณรับรู้และเข้าใจถึงวิธีการและขั้นตอนการทำงานภายใต้ระบบในทีมของคุณ Mentoring ที่จะทำให้เห็นถึงตัวอย่างแบบเป็นรูปธรรม Consulting ที่จะช่วยชี้ให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจนและตรงจุด และสุดท้ายคือ Coaching ที่จะช่วยสะท้อนและเปิดโอกาสให้พวกเขาเริ่มต้นพัฒนาตัวเอง ด้วยศักยภาพที่ซ่อนอยู่ของตัวเอง
แน่นอนว่าโอกาสในการสร้างประโยชน์และผลลัพธ์ให้กับตัวคุณเอง รวมไปถึงคนรอบตัวของคุณจะเข้ามาแบบไม่หยุดหย่อน ถ้าหากว่าวันใดวันหนึ่ง ที่ทำงานของคุณในโปรเจคใหม่ที่น่าจะสร้างรายได้ให้องค์กรแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แน่นอนว่าคุณที่เป็นคนที่รักษาคำพูดได้ ก็น่าจะเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่หัวหน้าของคุณจะไว้วางใจ และถ้าคุณสร้างผลงานออกมาให้องค์กรได้ การเติบโตในหน้าที่การงานจะหนีไปไหนไกล จริงไหม ? หรือว่าจะเป็นครอบครัวของคุณ การเป็นคนที่พูดคำไหนคำนั้น รับผิดชอบคำพูดของตัวเอง ก็สร้างความสบายใจในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในบ้าน เพราะถ้าคุณเป็นคนที่คาดหวังอะไรไม่ได้เลย สมาชิกในครอบครัวคุณก็คงจะต้องมาเหนื่อยกับคุณไม่น้อย จริงไหม ?
ซึ่งการถ่ายทอดทุกรูปแบบที่กล่าวถึง ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้คุณพัฒนาทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่สังเกตเห็นได้บ่อย ๆ ในผู้นำหลาย ๆ คนก็คือ ผู้นำส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ทักษะการถ่ายทอดทั้ง 4 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นได้ครบถ้วน และสิ่งที่มักจะสังเกตเห็นได้ว่าผู้นำส่วนใหญ่ขาดไปคือทักษะในการ Coaching
สำหรับใครที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับความหมายว่าศาสตร์การ Coach คืออะไร ทำงานอย่างไร ? สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ เลยก็คือ ทักษะการ Coach คือ ทักษะที่ใช้คำถามประกอบกับการฟัง เพื่อกระตุ้นให้คนที่ถูกโค้ช มองเห็นศักยภาพในตัวเอง และดึงเอาศํกยภาพตรงนั้นออกมาสร้างผลลัพธ์ที่พวกเขาต้องการได้ ซึ่งทักษะการ Coach นี้จะเปิดโอกาสให้ทีมงานของคุณ เริ่มพัฒนาด้วยตัวเอง เพื่อผลลัพธ์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องให้หัวหน้ามาคอยชี้นิ้วบอกอยู่ตลอดเวลา
ลองคิดตามดูว่าทำแต่ Training , Mentoring กับ Consulting ที่เป็นการถ่ายทอดโดยที่มีพี่เลี้ยงคอยตามประกบ จับมือทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนขั้นตอนสุดท้าย คอยชี้ปัญหาและบอกวิธีแก้ แต่ไม่มีการ Coaching เกิดขึ้นเลย ทีมงานคนนั้นของคุณก็อาจจะทำให้ชิ้นงานนั้นเสร็จออกมาได้ แต่เขาอาจจะพัฒนาตัวเองช้า หรืออาจะไม่มีความมั่นใจในศักยภาพของตัวเองมากพอก็เป็นได้
แน่นอนว่าผู้นำทุกคนย่อมมีทักษะและความสามารถในสายงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ในระดับที่สูงมาก ๆ อยู่แล้ว ดังนั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหากับการพัฒนาบุคลากรในแบบของ Training , Consulting , Mentoring กันอยู่แล้ว แต่ทักษะการ Coach ที่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายเป็นคนเริ่มคิด เริ่มทำด้วยตัวเองอาจจะเป็นสิ่งที่ผู้นำหลายคนอาจจะยังไม่ได้ให้เวลากับส่วนนี้มากมายนัก อาจจะด้วยเรื่องเวลา หรืออาจจะเพราะไม่คุ้นเคย แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าหากทีมงานคุณสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง การจัดเวลามาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับศาสตร์การ Coach ดูเป็นสิ่งที่น่าลงทุน จริงไหม ?
กริ่นสักเล็กน้อยว่า การ Coach ในแต่ละครั้งนั้นมีเงื่อนไข และองค์ประกอบที่ต้องใช้เวลาเรียนรู้และฝึกฝนอย่างเข้มข้น ดังนั้นบทความนี้คงไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดตั้งแต่เริ่มจนจบ ดังนั้นสิ่งที่จะหยิบมาแชร์กันในบทความนี้ก็คือ “คำถาม” ที่จะช่วยให้ทีมงานของคุณมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง
1. กำลังเจอปัญหาอะไรอยู่หรือเปล่า ?
ดูจะเป็นคำถามง่าย ๆ ที่เถรตรงเสียเหลือเกิน ซึ่งหลาย ๆ คนก็อาจจะคิดขึ้นมาทันทีแล้วว่า “ผมเคยถามแบบนี้ไปแล้ว คำตอบที่ได้มาก็คือ ไม่มีปัญหาครับ แต่สุดท้ายงานที่ออกมาก็มีปัญหาอยู่ดี” นี่แหละ คือปัญหาที่คุณจะสังเกตได้จากคำถามนี้ เพราะอย่างแรกที่คำถามนี้จะทำให้คุณรับรู้ได้ก็คือ คุณเป็นพื้นที่การฟังที่ดีให้กับทีมงานของคุณได้หรือไม่ ? เพราะถ้าพวกเขากำลังเจอกับปัญหาบางอย่างอยู่จริง ๆ แต่พวกเขาเลือกที่จะไม่พูดกับคุณ ก่อนอื่นเลยคุณอาจจะต้องหันกลับมามองตัวเอง และความสัมพันธ์ระหว่างคุณและทีมของคุณอีกครั้งว่าคุณจะสามารถปรับปรุงอะไรเพิ่มได้ไหม เพราะตัวคุณเองก็คงจะมีปัญหาบางอย่างที่ไม่ได้พูดหรือเล่าให้ฟังได้ทุกคน จริงไหม ? และถ้าเกิดว่าคุณมีปัญหาเรื่องงาน แต่ไม่กล้าหรือเลือกที่จะไม่เล่าให้กับหัวหน้างานของคุณฟัง แน่นอนอยู่แล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับหัวหน้าคุณอาจจะมีอะไรบางอย่างที่สามารถพัฒนาขึ้นได้ คุณว่าจริงไหม ?
อย่างที่กริ่นไว้ข้างต้นว่าคงจะไม่สามารถอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นในส่วนของการเป็นผู้ฟังที่ดี สามารถอ่านรายละเอียดในบทความอื่น ๆ ที่เคยกล่าวถึงการเป็นผู้ฟังที่ดีให้กับคนรอบตัวได้
ส่วนที่สองที่คุณจะสามารถรับรู้ได้ก็คือ ในมุมมองของทีมคุณ ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร ? เพราะด้วยมุมมองและความรับผิดชอบที่ต่างกัน คุณสองคนอาจจะเห็นอะไรไม่ตรงกันก็ได้ การเปิดโอกาสให้ทีมของคุณได้อธิบายถึงปัญหาในมุมมองของคนทำงาน ก็เป็นแปรสำคัญที่จะทำให้ทีมคุณแก้ไขปัญหาเหล่านั้นไปพร้อม ๆ กันได้

2. ปัญหาจริง ๆ คืออะไร ?
บางครั้งเราเห็นปัญหาบางอย่าง เราอาจจะมองเห็นแค่สิ่งที่อยู่บนผิวน้ำว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เราไม่ได้สังเกตและวิเคราะห์มากพอว่า ต้นตอของปัญหาจริง ๆ คืออะไร และมาจากไหน ซึ่งถ้าขาดการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน ก็อาจจะทำให้เราต้องเสียทรัพยากรในการทำงานไปแก้ปัญหาแบบผิดจุดโดยที่ไม่ได้สร้างผลลัพธ์อะไรให้เกิดขึ้นเลยก็ได้
3. มีโอกาสอะไรที่จะทำให้เราจัดการปัญหานี้ได้อย่างง่ายดายบ้าง ?
แน่นอนว่าคำถามนี้คงไม่ต่างอะไรกับคำถามกดดันว่า “ แล้วคุณจะแก้ปัญหานี้ยังไง ? ” ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยผ่านกันมา แต่ด้วยบริบทการถาม และ Keyword ที่ว่า “ อย่างง่ายดาย “ จะสร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนในแบบที่คุณอาจจะไม่เคยสังเกตมาก่อน แน่นอนว่าปัญหาบางอย่างก็อาจจะไม่สามารถแก้ได้ง่ายอย่างที่หลาย ๆ คน หวังเอาไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้จำเป็นจะต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ยากเกินจำเป็นไปเหมือนกัน ลองคิดย้อนกลับไปดูว่าคุณเคยเจอประสบการณ์การแก้ปัญหาแบบไหนที่คุณมองกลับไปแล้วก็คิดกับตัวเองว่า “ ไม่น่าทำอะไรให้มันยุ่งยากเลยนะเรา “ แน่นอนว่าทุกคนก็น่าจะเคยผ่านประสบการณ์อะไรแบบนี้กันมาบ้างแล้ว
เพราะคำว่า “ ง่ายดาย “ ไม่ได้หมายถึงคำว่าทำอะไรชุ่ย ๆ ให้ผ่าน ๆ ไปที แต่คำว่า “ ง่ายดาย “ คือการตัดส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับการสร้างผลลัพธ์นั้น ๆ ออกไปต่างหาก บางครั้งวิธีการเดิม ๆ ก็อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะเป็นเรื่องที่จำเป็น และการเปลี่ยนแปลงก็อาจจะไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะสุดท้ายแล้ว ถ้าทีมคุณสามารถสร้างผลลัพธ์ที่มีองค์ประกอบที่คุณต้องการได้ครบถ้วน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่แย่สักเท่าไหร่ จริงไหม ?
4. เราคิดว่า อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดีอยู่แล้ว และอะไรคือสิ่งที่เราต้องพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก
แน่นอนว่าคุณที่เป็นผู้นำย่อมจะมีมุมมองจากคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่าอยู่แล้ว และมีมุมมองในการสะท้อนของบุคคลที่สาม แต่บ่อยครั้งที่ผู้นำหลายคนข้ามหัวข้อในการสื่อสารนี้ไป กลายเป็นว่าคำถามเกี่ยวกับจุดเด่นในการทำงานเป็นคำถามที่ถูก HR ถามแค่ตอนสัมภาษณ์งานไปเสียอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่การเปิดโอกาสให้ทีมของคุณสะท้อนตัวเองออกมาว่า พวกเขารู้สึกว่าทำอะไรได้ดี และอะไรที่อยากพัฒนา จะเปิดโอกาสให้คุณเห็นมุมมองของพวกเขาในแบบที่คุณอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน
สิ่งที่ทำได้ดี อาจจะมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ทีมของคุณตัดสินได้ว่า พวกเขาสามารถรับผิดชอบงานเหล่านี้ได้ดี เพราะอะไร ซึ่งเหตุผลมีได้หลายอย่างมาก พวกเขาอาจจะรู้สึกว่าตัวเองถนัดด้านนี้ จึงทำได้ดี , พวกเขามองว่าระบบการทำงานทำให้พวกเขาทำงานง่าย , พวกเขาอาจจะพบว่าตัวเองถูกขอความช่วยเหลือในหัวข้อนี้บ่อย และได้รับคำชมตอบกลับมาทุกครั้ง เป็นต้น
สิ่งที่อยากพัฒนา อาจจะเป็นได้หลายอย่างมากกว่าที่คุณคิด เพราะบางเรื่องที่พวกเขาอยากพัฒนาตัวเองขึ้นมา ก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับการทำงานในมุมมองของคุณ แต่สิ่งนั้นอาจจะมีผลกับการทำงานในมุมมองของพวกเขาก็ได้
นอกจาก คำถามข้อนี้จะช่วยสะท้อนและให้กำลังใจทีมงานของคุณแล้ว ข้อมูลที่คุณจะได้จากคำถามข้อนี้จะทำให้คุณเข้าใจมุมมองเกี่ยวกับความถนัดและสิ่งที่พวกเขาอยากจะพัฒนามากขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวแปรที่ทำให้คุณตัดสินใจเลือกส่งงานในอนาคตอีกด้วย
5. คุณคิดว่า คุณได้ใช้ศักยภาพของตัวเองเต็มที่แล้วหรือยัง ?
แน่นอนว่าคำถามนี้ ถ้าหัวหน้าถามลูกน้องส่วนใหญ่ก็อาจจะตอบว่า “ ใช่ “ อยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครอยากจะบอกหัวหน้าตัวเองว่าพวกเขาไมได้ทำงานเต็มที่อยู่หรอกจริงไหม ? แต่ในกรณีที่คุณยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่คุณคาดหวังจากทีมงานคนนี้ของคุณ คุณจะสามารถถามต่อไปได้ว่า “ อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณรับรู้ได้ ว่านี่คือคำว่า เต็มที่ แล้ว ? “ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณเห็นมุมมองของพวกเขาว่า ขีดจำกัดของคำว่า “เต็มที่” ในมุมมองของพวกเขาคืออะไร
ซึ่งบ่อยครั้งผู้นำมักจะชอบใช้ศักยภาพของตัวเองเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินทีมงาน แต่การได้รับรู้มุมมองของพวกเขาในการทำงาน ก็อาจจะทำให้คุณเข้าใจและเห็นมุมมองในการทำงานของพวกเขาได้มากขึ้น
แต่ถ้าหากว่าคุณถามไปแล้วคุณได้คำตอบมาว่า “ ไม่ “ พวกเขายังไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ คราวนี้แหละคือเวลาสนุกของพวกคุณแล้ว ในเมื่อคุณได้รับคำยืนยันจากเจ้าตัวแล้วว่า ด้วยองค์ประกอบในการทำงานปัจจุบันของพวกเขา ทำให้พวกเขาไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ให้คุณไปทำคำถามต่อไปเลยก็คือ
6. และต้องทำอย่างไร เราถึงจะมีประสิทธิภาพได้มากกว่านี้หรือ ?
จะเรียกว่านี่คือจุด Climax ของการพัฒนาตัวเองเลยก็ได้ เพราะนี่คือจุดที่คุณจะเห็นทีมของคุณ เริ่มเค้นเอาศักยภาพของตัวเองออกมาทีละข้อ คุณจะเห็นพวกเขาเริ่มพูดสิ่งที่พวกเขาคิดออกมาว่าพวกเขามีวิธีการอะไรที่จะใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งครั้งนี้ การพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้น ไมได้ออกมาจากคำสั่งของคุณ แต่เป็นแรงกระตุ้ยภายในของพวกเขาเองว่าในมุมมองของพวกเขา พวกเขาต้องการการพัฒนาในรูปแบบไหน ในหัวข้ออะไร หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่จะต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าคำตอบในข้อที่แล้วจะเป็น “ ใช่ ” หรือ “ ไม่ “ ก็ตาม
หน้าที่ของคุณในข้อนี้คือ รับฟัง และคอยถามซ้ำว่า มีอะไรอีกไหม จนกว่าคุณจะได้ยินคำตอบเชิงว่า “ คิดไม่ออกแล้ว “ สักสองครั้ง ซึ่งการถามซ้ำจะทำให้พวกเขาหันกลับมาไตร่ตรองกับตัวเองจนถึงที่สุดว่า ณ เวลานี้ พวกเขาได้งัดทุกอย่างที่ตัวเองมีออกมาแล้วหรือยัง

7. สัปดาห์นี้จะเริ่มต้นทำอะไร ให้ตัวเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ?
เมื่อผ่านจุดพีคจากคำถามข้อที่แล้วมาเรียบร้อยแล้ว สิ่งสุดท้ายที่คุณจะต้องทำก็คือ เลี้ยงไฟที่เพิ่งจะลุกขึ้นมาในทีมคุณเมื่อสักครู่ให้ลุกโชนต่อไป ด้วยการเลือก Action plan ที่จะต้องเกิดขึ้นในทันทีว่า เพื่อผลลัพธ์ที่คุณอยากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของตัวเอง คุณจะทำอะไรบ้างใน 7 วันข้างหน้า
เพราะบ่อยครั้งเหลือเกินที่ผู้คนคุยกันว่าอยากจะทำอะไรเพิ่ม แต่ไม่เริ่มลงมือทำสักที หลายคนคงจะเคยผ่านเหตุการณ์ที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่าง แล้วคุณรู้สึกสนใจอยากจะทำอะไรเพิ่มขึ้นมาในตอนนั้นทันที แต่ถ้าคุณปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยที่ไม่ลงมือทำอะไรเลย ความตื่นเต้นในตอนนั้นก็เหมือนจะหายไปเฉย ๆ ดังนั้นวิธีการรักษาความรู้สึก “ อยากทำ “ ที่ดีที่สุดก็คือ การวางแผนในทันทีว่าคุณจะลงมือทำอะไร ที่ไหน วันไหน เวลาไหน อย่างชัดเจน เท่านีก็จะทำให้ทีมของคุณเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า จะต้องมี Action อะไรบ้างที่จะทำให้พวกเขาพัฒนาขึ้นได้ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ และถ้ากระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า รู้ตัวอีกทีคุณจะพบว่า คุณกำลังอยู่ในทีมที่กำลังถีบตัวเองเพื่อพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line : @LifeEnricher
Facebook: TheLifeEnricher
โทร: 02-017-2758, 094-686-6599