Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

5 คำถาม อ่านความต้องการของคนตรงหน้าอย่างแท้จริง

            ความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์ พวกเราทุกคนมีสังคมที่เราพาตัวเองเข้าไปอยู่ด้วยในชีวิตประจำวันหลากหลายสังคม บางคนมีทั้งครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมชมรม เพื่อนที่สนใจงานอดดิเรกเดียวกัน เพื่อนร่วมงาน คนรัก รุ่นพี่ รุ่นน้อง ฯลฯ และแน่นอนว่า เมื่ออยู่ในกลุ่มสังคมบางอย่าง สิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือการอยู่ร่วมกับคนอื่น และแน่นอนว่าถ้าอยากจะอยู่ร่วมกับคนอื่นแบบมีความสุข มีประสิทธิภาพ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญหลักอย่างหนึ่ง

             แต่บ่อยครั้งที่เมื่อเราต้องการสื่อสาร เราอาจจะพบว่าตัวเองกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ “ ลังเล “ ว่าจะสื่อสารอย่างไรดี จะสื่อสารด้วยวิธีไหนดี เราลังเลว่าเราจะพูดออกไปดีไหม หรือเราจะเก็บความสงสัยนี้ไว้กับตัว ซึ่งความลังเลเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความที่ไม่ “ ไม่รู้ “ ว่าคนตรงหน้าเราคิดอะไรอยู่ “ ไม่รู้ “ ว่าพวกเขาต้องการอะไร มีแรงขับอะไร และความไม่รู้เหล่านี้ ทำให้เราไม่เข้าใจถึงค่านิยม ไม่เข้าใจถึงความเชื่อของพวกเขา

             แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนตรงหน้าเราต้องการอะไร คิดอะไร ค่านิยมความเชื่อของเขาเป็นอย่างไร ถ้าจะเดาเองก็คงจะไม่เหมาะสักเท่าไหร่ เพราะใครจะสามารถตอบ หรืออธิบายคนหนึ่งคนได้มากกว่าเจ้าตัวจริงไหม ? มันคงจะดูไม่สมเหตุสมเผลเท่าไหร่ถ้าเราจะเคลมว่า “ ฉันรู้จักเขาดีกว่าเขารู้จักตัวเอง “ เพราะถ้ามันเป็นความคิด ความต้องการ และความเชื่อสำหรับคนหนึ่งคน คนที่จะตัดสินว่าความคิดที่เขามีคืออะไร ความต้องการของเขาคืออะไร และความเชื่อของเรามาจากไหน ก็มีแต่ตัวเขาเองเท่านั้น เหมือนกับนักประพันธ์ที่สามารถเขียนนิยายชีวิตให้เป็นอย่างไรก็ได้ตามใจนึก

             ดังนั้นถ้าเราอยากจะได้คำตอบจากเขา วิธีที่ดีที่สุดที่จะหาคำตอบก็คือ “ คำถาม “ นี่คือ 5 คำถามที่จะทำให้คุณ สามารถอ่านความต้องการที่แท้จริงของคนตรงหน้าได้

  • ถ้าขอพรได้สามข้อ คุณจะขออะไร ? 
  • ต้องการผลลัพธ์จากพรแต่ละข้อ เพื่ออะไร ? 
  • ผลลัพธ์เหล่านั้นสำคัญอย่างไรกับคุณ ? 
  • เมื่อทำสำเร็จแล้ว ผลลัพธ์นั้นจะให้อะไรกับคุณ ? 
  • ถ้าชีวิตของคุณถูกเติมเต็ม และได้ใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการแล้ว การเปลี่ยนแปลงสิ่งแรกที่คุณจะทำคืออะไร ? 

 

             หลายคนพอได้อ่านคำถามแล้ว อาจจะยังสับสน ยังไม่แน่ใจว่า คำถามที่ดูไม่ได้มีอะไรสลับสับซ้อน แค่ 5 ข้อนี้ จะเป็นเทคนิคที่ทำให้เราสามารถอ่านความต้องการของคนตรงหน้า แล้วเข้าใจพวกเขาได้จริงหรือ ? นี่เป็นคำถามของคนที่เลือกจะพัฒนาตัวเองด้วยการเรียนจิตวิทยาจริง ๆ หรือ ?

             คำตอบก็คือ พลังที่แอบซ่อนอยู่ในคำถามเหล่านี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของคำถามเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนที่ใช้คำถามเหล่านี้ด้วย เหมือนกับพ่อครัวสมัครเล่นที่ใช้มีดเชฟแพง ๆ แต่ก็อาจจะไม่ได้สร้างผลลัพธ์ได้เท่าเชฟที่มีความสามารถ ซึ่งเชฟที่มีความสามารถที่จะใช้คำถามเหล่านี้ได้ดี ก็คือเหล่าบุคคลที่เรียนจิตวิทยาการตั้งคำถาม จากทักษะการโค้ชนั่นเอง

 

Coaching กับการเข้าใจผู้คน

             ก่อนที่จะพูดถึงเหตุผลที่ทำให้การโค้ชเป็นทักษะที่ทำให้เราสามารถเข้าใจความต้องการของผู้คนได้ ลองมาทำความเข้าใจกันอย่างคร่าว ๆ ก่อนว่า “ การโค้ช “ คืออะไร ?

             Coaching หรือการโค้ช คือ ศาสตร์ในการสนับสนุนการเติบโตอย่างหนึ่ง ที่ใช้คำถามเป็นแกนหลักในการกระตุ้นให้พัฒนาและเติบโต ความแตกต่างของการโค้ช กับทักษะอื่น ๆ เช่น Mentoring / Training / Consulting ก็คือ ผู้ที่เป็นโค้ช จะไม่ให้คำแนะนำ ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่ถูกโค้ช (Coachee) ดังนั้นการเติบโตจะเกิดจากศักยภาพภายในของ Coachee เท่านั้น จะไม่ได้มีการชี้แนะจากโค้ชเลย แต่โค้ชจะใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้ Coachee พัฒนาด้วยตัวเอง ซึ่งหน้าที่ของโค้ชอีกอย่างนอกจากการใช้คำถามก็คือ โค้ชจะทำหน้าที่ในการ Reflect หรือทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนมุมที่ Coachee อาจจะมองไม่เห็นมาก่อน

             ซึ่งเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้กระบวนการทั้งหมดนี้สร้างผลลัพธ์ที่ Coachee ต้องการได้ คือคุณสมบัติของโค้ชที่ดี ซึ่งคุณสมบัติหลักที่จะทำให้โค้ชสามารถสนับสนุน Coachee ได้ก็คือ

ทักษะการฟัง

             แน่นอนว่าถ้าใช้คำถามเป็นเครื่องมือ แสดงว่าเรากำลังคาดหวังคำตอบอยู่ ซึ่งการรับคำตอบที่ดีคือการมีทักษะการฟังที่ดี ซึ่งโค้ชจะสามารถฟังในระดับลึกที่ทำให้โค้ชสามารถเข้าใจสารที่ Coachee กำลังสื่ออยู่ได้รอบด้าน ทั้งคำพูดที่ใช้ ความหมายของคำพูดเหล่านั้น เจตนาภายใต้คำพูด และความต้องการภายใต้คำพูดเหล่านั้น และข้อสำคัญที่จะทำให้โค้ชหนึ่งคนเป็นโค้ชที่ดีได้ก็คือ “ การฟังอย่างไม่ตัดสิน “ เพราะโค้ชที่ดีจะเชื่อว่า ทุก ๆ คำตอบมีความหมายที่ดีซ่อนอยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อโค้ชถามแล้ว สบายใจได้เลยว่าคำตอบเหล่านั้นจะไม่ถูกตัดสิน ไม่ถูกตำหนิ เพราะสุดท้ายแล้ว ความสำเร็จหลายอย่างก็เกิดขึ้นมาจากการรังสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ลองคิดถึงสมัยที่ผู้คนเขียนจดหมายหากัน ถ้ามีใครสักคนพูดถึงเครื่องมือสื่อสารแบบ Smartphone ในปัจจุบันก็คงจะโดนตราหน้าว่าเป็นคนเพ้อฝัน แต่ความเพ้อฝันเหล่านั้นนั่นแหละ ที่ทำให้เกิดจุดเริ่มต้นของสิ่งใหม่ ๆ

 

การสังเกต

             โค้ชจะไม่ได้ใช้แค่ประสาทการฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โค้ชจะใช้การมองเห็นสังเกตภาษากายด้วย ทั้งสายตาของ Coachee สีหน้า และการวางตัว เพราะการสื่อสารไม่ได้มีแค่คำพูดเพียงอย่างเดียว การสื่อสารเกิดขึ้นทั้งสีหน้า และภาษากายควบคู่มาด้วย

Rapport

             ความหมายง่าย ๆ ของการ Rapport ก็คือการเชื่อมสัมพันธ์นั่นเอง เพราะการโค้ชเป็นการถามคำถาม ซึ่งการถามให้คนตอบอยากตอบ ก่อนอื่นเลยโค้ชจะต้องสร้างความสัมพันธ์ และความไว้เนื้อเชื่อใจผ่านการ Rapport เพราะถ้าหากว่าโค้ชไม่ได้รับความไว้วางใจจาก Coachee การโค้ชก็คงจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ลองคิดภาพดูว่า ตัวคุณเอง จะตอบคำถามที่จำเป็นจะต้องพูดถึงความคิด และความเป็นตัวคุณ ให้กับคนที่คุณไม่สนิทใจได้จริงหรือ ?

             ความลับของการ Rapport ก็คือการหาสิ่งที่ “ เหมือนกัน “ มาเป็นตัวสะพานเชื่อมสันพันธ์ระหว่างโค้ชและ Coachee เพราะความ “ เหมือน “ เป้นเหมือนสัญลักษณ์ที่ทำให้เราสัมผัสได้ว่า เขาเคยมีประสบการณ์อะไรบางอย่างในชีวิตที่คล้ายคลึงกับเรา ซึ่งความคล้ายนี้จะทำให้คนสองคนรู้สึกว่าเราเข้าถึงกันได้มากขึ้นทันที ลองคิดสภาพว่าเวลาเรารู้สึกสนิทกับเพื่อนสักคนหนึ่ง เรามักจะมีอะไรบางอย่างเหมือนกันเสมอ ตอนเด็ก ๆ แค่ชอบกันพิซซ่าเหมือนกันก็อาจจะซี้กันเหมือนเป็นพี่น้องคนละพ่อแม่ หรือในวัยรุ่นถ้าหากว่าเพื่อนร่วมห้องคนไหนก็จะมาจับกลุ่มรวมกันแบบไม่ได้นัดหมาย บางคนนึกย้อนไปอาจจะจำภาพของ “ แก๊งเด็กเตะบอล “ ในห้องได้ หรือ “ แก๊งเด็กติดเกม “ ประจำห้อง ซึ่งเด็ก ๆ ที่ชอบเรื่องเดียวกัน เวลาที่มีงานกลุ่มก็จะหาเรื่องมาทำอะไรด้วยกันตลอด ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่หัวข้อเกี่ยวกับเรื่องบอล หรือเรื่องเกมก็ตาม

              นี่คือแรงดึงดูดของความเหมือน นอกจากนี้อำนาจของความเหมือนยังมีพลังในการเปลี่ยนมุมมองของคนหนึ่งคนก็อีกด้วย เพราะความเหมือนจะทำให้เราเข้าถึงกันผ่านความคล้ายคลึงกัน และเมื่อเราเข้าถึงกันได้ เราจะยอมรับความแตกต่างที่ทั้งสองคนมีให้กันได้ คนสองคนที่มีความเชื่อต่างกัน จะสามารถยอมรับความแตกต่างที่ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ได้ เพียงแค่เพราะเรามีความเหมือนกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

               ยกตัวอย่าง นาย A เป็นคนที่ทานอาหารปกติ ส่วนนาย B เป็น Vegan หรือมังสวิรัติ ซึ่งแน่นอนว่านาย B ก็จะไม่เห็นด้วยกับการบริโภคสัตว์อยู่แล้ว แต่นาย A และนาย B มารู้จักกันในกลุ่มคนเล่น Surf skate ด้วยกัน ฝึกซ้อมและพูดคุยกันถูกคอ โดยที่ทั้งสองคนไม่รู้เลยว่า ค่านิยมการทานอาหารของทั้งสองคนแตกต่างกัน แต่สุดท้ายเมื่อนาย A และนาย B รับรู้ทางเลือกในการทานอาหารของอีกฝ่าย ทั้งสองก็ยอมรับกันได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น นาย A ก็เข้าใจและให้เกียรตินาย B และในทางกลับกันนาย B ก็เคารพการตัดสินใจของนาย A ด้วย ซึ่งถ้าลองคิดดูว่าทั้งสองคนนี้เจอหน้ากันในการปะทะของกลุ่มนักเคลื่อนไหวของชาว Vegan ทั้งคู่ก็อาจจะไม่เข้าใจกันเลยก็เป็นได้ 

             ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคุณสมบัติของโค้ชมืออาชีพ ที่สามารถเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ได้ ถึงแม้ว่าไม่ได้ตั้งใจจะเป็นโค้ชก็ตาม ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโค้ชก็สามารถศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาเหล่านี้ได้ เพราะการเรียนจิทวิทยาจะทำให้เราได้เครื่องมือที่จะช่วยให้เราอยู่ร่วมกันคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนกับบางคนที่เรียนทำอาหารเพราะแค่อยากจะทำอาหารอร่อย ๆ ให้คนที่เรารักทาน อาจจะไมได้ฝันไกลถึงขนาดจะเป็นเชฟมืออารชีพ การเรียนรู้ศาสตร์การโค้ชก็เหมือนกัน เราอาจจะไม่ได้ตั้งใจจะเป็นโค้ชมืออาชีพ แต่ก็สามารถมาศึกษาเพื่อนำทักษะเหล่านี้มาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของทั้งตัวคุณเองและคนสำคัญรอบตัวคุณได้

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line : @LifeEnricher

Facebook: TheLifeEnricher

โทร: 02-017-2758, 094-686-6599

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า