StoryTelling
การหารายได้ หรือการหาเลี้ยงครอบครัว ล้วนแล้วแต่เกิดจากทักษะหรือความสามารถบางอย่างของตัวบุคคล ที่สร้างคุณค่าหรือประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม และเมื่อคุณค่าเหล่านั้นได้รับการยอมรับจากสังคม จะทำให้ความสามารถเหล่านั้น เกิดเป็นอาชีพขึ้นมาได้ ซึ่งแน่นอนว่าโดยส่วนมากแล้ว
การสร้างองค์กร เกิดขึ้นจากความคิดของผู้ก่อตั้ง เกิดจากเป้าหมายของผู้ก่อตั้ง เป้าหมายที่จะสร้างผลลัพธ์และความเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้เกิดขึ้นด้วยมือของเรา และไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะเป็นองค์กรที่ใหญ่ระดับสากลที่ทำให้ชีวิตผู้คนเปลี่ยนแปลงอย่าง Googles หรือ Apple
“ เพื่อน “ คือบุคคลที่มีบทบาทแทบจะทุก ๆ ด้านของการดำรงชีวิตของเราในปัจจุบัน แน่นอนว่า “ เพื่อน “ ของใครหลาย ๆ คนก็อาจจะมีหลายระดับ เช่น เพื่อนที่รู้จักกัน , เพื่อนสมัยเรียน , เพื่อนที่ทำงานด้วยกัน , เพื่อนสนิท ฯลฯ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพื่อนในระดับไหนก็ตาม ถ้าเรานับว่าคนเหล่านี้เป็น “ เพื่อน “
“ Bad day “ หรือ “ วันแย่ ๆ “ น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนเจออยู่ในชีวิตประจำวัน บางช่วงก็เจอถี่หน่อย บางช่วงจะหายไปเลยก็มี แต่ด้วยวิกฤตการณ์ปัจจุบันก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายคนอาจจะกำลังอยู่ในวังวนของ “ วันแย่ ๆ “
สภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ล้วนแต่พัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดหย่อน จึงทำให้เราทุก ๆ คนจำเป็นจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเช่นกัน และถ้าโลกเรายังเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะเวลา แต่เราและธุรกิจของเราไม่หมุนตามโลกไม่พัฒนาและเปลี่ยนแปลง คุณคิดว่าจะเป็นอย่างไร ?
พูดไปแล้ว แต่ทำไมมันทำยากจัง… แน่นอนว่าไม่มีใครบนโลกนี้อยากจะให้คำพูดของตัวเองดูเป็นคำพูดที่ไม่มีน้ำหนัก พูดอะไรไปใครเขาก็ฟังให้มันผ่าน ๆ ไปเฉย ๆ เพราะรู้อยู่แล้วว่าคำพูดของคุณ ไม่ได้คู่ควรที่ให้ความไว้วางใจ หรือแม้แต่จะมีความคาดหวังในคำพูดนั้น ๆ เพราะคุณพูดออกมาแล้วคุณก็มักจะทำไม่ได้เหมือนที่พูดเอาไว้
ทุก ๆ คนล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายของตัวเองในชีวิต และเพื่อเป้าหมายนั้น ๆ หลายคนพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเองให้สามารถสร้างผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่จะนำพาพวกเขาไปถึงเป้าหมายใหญ่ที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรกได้ และบ่อยครั้งเมื่อเราเห็นหนทาง เราเห็นเส้นทางการพัฒนาตัวเองของเราแล้ว มันช่างมีหลายหัวข้อ
การตัดสินใจ เป็นหนึ่งสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตของเรา บางครั้งคุณรู้สึกขอบคุณในการตัดสินใจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจลองทำสิ่งใหม่ ๆ ตัดสินใจเลือกคบเพื่อนบางกลุ่ม ฯลฯ และแน่นอนว่ามีเรื่องดีก็ย่อมมีเรื่องที่ไม่น่าพอใจเท่าไหร่นักมาเป็นของคู่กันอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรถ้าพวกเราทุกคนจะมีเรื่องที่รู้สึกว่า “ฉันไม่น่าตัดสินใจแบบนี้ลงไปเลย”
“ความสำเร็จ” น่าจะเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนกำลังพยายามต่อสู้ ดิ้นรน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เผื่อให้ได้มาซึ่ง “ความสำเร็จ” ซึ่งความหมายของความสำเร็จนั้นแตกต่างออกไปสำหรับหลาย ๆ คน บางคนให้ความหมายว่า ความสำเร็จคือการมีรายได้มาก ๆ เผื่อที่เขาจะสามารถดูแลคนในครอบครัวและดูแลคนสำคัญของตัวเองได้ บางคนบอกว่า
เชื่อว่าชีวิตของทุกคนมีเป้าหมายอย่างหนึ่งที่ตั้งเอาไว้ในอนาคต และทุกคนกำลังพยายามใช้ปัจจุบัน เดินหน้า เรียนรู้ ต่อสู้ และพัฒนาตัวเองเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายปลายทางได้ตามที่ตั้งเอาไว้ และแน่นอนว่าก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ย่อมจะต้องเจออุปสรรคต่าง ๆ นา ๆ ทั้งอุปสรรคที่มาจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันจากบริษัทคู่แข่ง สภาพเศรษฐกิจ

จัดการกับความกลัวอย่างจริงจัง ก่อนที่มันจะรั้งเราไปมากกว่านี้
เชื่อว่าชีวิตของทุกคนมีเป้าหมายอย่างหนึ่งที่ตั้งเอาไว้ในอนาคต และทุกคนกำลังพยายามใช้ปัจจุบัน เดินหน้า เรียนรู้ ต่อสู้ และพัฒนาตัวเองเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายปลายทางได้ตามที่ตั้งเอาไว้ และแน่นอนว่าก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ย่อมจะต้องเจออุปสรรคต่าง ๆ นา ๆ ทั้งอุปสรรคที่มาจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันจากบริษัทคู่แข่ง สภาพเศรษฐกิจ หรือกระแสนิยมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย นอกจากปัจจัยภายนอกแล้วก็ยังมีปัจจัยภายในที่เหนี่ยวรั้ง ดึงไม่ให้คุณได้ก้าวต่อไปด้านหน้าอยุ่อย่างหนึ่ง ปัจจัยภายในที่พูดนี้คือ “ความกลัว”
“ความกลัว” เป็นสิ่งที่ทุกคนเคยประสบพบเจอ ถ้าคุณถูกถามว่าคุณกลัวอะไรบ้างในชีวิต บางคนอาจจะตอบออกมาได้ทันทีเลยว่า “กลัวแมงมุม” , “กลัวความมืด” , “กลัวความสูง” , “กลัวที่แคบ” ฯลฯ ซึ่งความกลัวก็มีอยู่หลายประเภท ตั้งแต่รับรู้ว่าตัวเองกลัวเรื่องบางเรื่อง และพอจะจัดการกับตัวเองได้ดี ไปจนถึงอาการกลัวหนักถึงขนาดที่สามารถถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือว่า Phobia ได้เลย ซึ่งความกลัวในระดับ Phobia นี้ ควรจะพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ รรักษาในระยะยาว
“ความกลัว” เหล่านี้มีผลกับชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถึงแม้ว่าคนสองคนมีความกลัวแบบเดียวกัน แต่ความกลัวนั้นอาจจะส่งผลต่อชีวิตของคนสองคนไม่เหมือนกัน ความกลัวที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยที่ไม่มีผลอะไรนักก็สามารถเลือกที่จะหลีกเลี่ยงได้ เช่น ถ้ากลัวแมลงสาบก็พยายามทำความสะอาดบ้านอยู่ตลอด หมั่นสังเกตจุดที่แมลงสามารถเข้าออกจากบ้านได้ และเอาขยะออกไปทิ้งสม่ำเสมอ เป็นต้น แต่ก็มีความกลัวบางประเภทที่ ถ้าหากว่าหลีกเลี่ยงแล้วจะมีผลกระทบต่อชีวิต เช่น กลัวการออกไปนำเสนอต่อหน้าผู้คน ถามว่าสามารถหลีกเลี่ยงได้ไหม คำตอบคือสามารถหลีกเลี่ยงได้แน่นอน แต่คุณเคยลองคิดไหม ว่าถ้าความกลัวนี้หายไป ชีวิตคุณจะพัฒนาไปทางไหนได้บ้าง ?
แน่นอนว่าความกลัวเป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลจะต้องเป็นคนเลือกวิธีในการจัดการกับมันด้วยตัวเอง ไม่ควรจะมีใครถูกบังคับให้สู้กับความกลัวของตัวเองด้วยมุมมอง ความคิด และมาตรฐานของคนอื่นอยู่แล้ว ถ้าคุณรู้สึกว่าความกลัวของคุณยังไม่จำเป็นจะต้องถูกจัดการในตอนนี้ นั่นไม่ใช่เรื่องผิด นั่นแค่หมายความว่าผลกระทบของความกลัวที่คุณมีต่อชีวิตของคุณนั้นต่ำมาก และคุณมีเรื่องที่สำคัญกว่าที่จะต้องจัดการเท่านั้นเอง
แต่ถ้าหากว่าคุณสัมผัสได้ว่า ความกลัวของคุณกำลังเหนี่ยวรั้งคุณ กำลังหยุดคุณไม่ได้ให้คุณลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่คุณต้องการได้ เช่น คุณกลัวที่จะไปเจรจากับนักลงทุน ให้มาลงทุนกับบริษัทคุณ , คุณกลัวที่จะต้องเอ่ยปากปฏิเสธสิ่งที่คุณไม่ต้องการ หรือคุณกลัวที่จะลงทุน ทั้ง ๆ ที่คุณก็ศึกษาข้อมูลมาอย่างดิบดีแล้ว ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณอยากจะ “อยากจะจัดการกับมัน” คุณอยากจะก้าวข้ามมัน เพราะความกลัวนี้มันกำลังขวางกั้นคุณกับความสำเร็จและผลลัพธ์ที่คุณคู่ควรอยู่ บทความนี้มีเทคนิคที่เข้าใจง่าย และฝึกฝนได้
5 เทคนิค สำหรับจัดการกับความกลัวเหล่านี้
1. ตื่นเต้นกับมัน
เทคนิคแรกคือการ “ให้ความหมาย กับความกลัวนั้นใหม่” จากที่ “กลัว” ให้กลายเป็นความ “ตื่นเต้น” แทน ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลดีกับความกลัวที่คล้ายกันกับความกังวล กังวลในสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อน กังวลว่าเราจะไม่สามารถจัดการกับมันได้ เช่น จะเข้าห้องสอบแล้ว “กลัว” กลัวทำข้อสอบไม่ได้ กลัวจะสอบตก หรือกำลังจะเข้าประชุมใหญ่ จะต้องนำเสนอโปรเจคใหม่ให้เจ้าของบริษัท “กลัว” กลัวว่าจะนำเสนอได้ไม่ดี กลัวว่าคนฟังจะไม่เห็นด้วยกับไอเดียของคุณ กลัวที่จะถูกปฏิเสธ เป็นต้น
สาเหตุที่ยกตัวอย่างเกี่ยวกับความกลัวประเภทที่เป็นความกังวลในเรื่องที่ตัวเองยังไม่รู้ หรือ “กลัวเพราะไม่รู้” เพราะว่ามีงานวิจัยเกิดขึ้นกับเด็กกลุ่มหนึ่งที่กำลังจะเข้าห้องสอบ 2 รอบ โดยที่ครูพี่เลี้ยงที่ดูแลเด็กก่อนจะเข้าห้องสอบทั้งสองมีวิธีพูดให้กำลังใจ หรือ peptalk ก่อนเข้าห้องต่างกัน โดยที่ก่อนที่จะเข้าห้องสอบครั้งแรกครูบอกว่า “ใจเย็น ๆ ทำใจนิ่ง ๆ เอาไว้” แล้วปล่อยให้เด็กเข้าห้องสอบ และในครั้งที่สองครูบอกว่า “กลัวเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ตื่นเต้นไปเลย เรากำลังได้โอกาสที่จะทำอะไรบางอย่างอยู่ตรงหน้าแล้ว ทำให้เต็มที่ ลุยกับมันไปเลย”

ผลที่ออกมาก็คือ ห้องสอบที่เด็กถูกบอกให้ตื่นเต้นก่อนเข้า มีผลการสอบออกมาดีกว่าห้องที่บอกให้เด็กใจเย็น ๆ ก่อนจะเข้าห้องสอบ นั่นเป็นเพราะว่า การเปลี่ยนความกลัวให้เป็นความตื่นเต้น ก็คือ การเปลี่ยน Negative energy ให้กลายเป็น Positive energy นั่นเอง ซึ่งสาเหตุที่การให้ความหมายที่แตกต่างมีผลกับจิตใจและผลงานของเรามาก เพราะว่าความกลัวมักจะทำให้เราคิดถึงจะผลเสียที่จะเกิดขึ้น เอาแต่คิดถึง Worst case ว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ฉันจะเดือดร้อนอะไรได้บ้าง ฯลฯ ในขณะที่ความตื่นเต้นจะทำให้คุณคิดถึงสิ่งที่คุณจะได้จากเหตุการณ์ตรงหน้า ประโยชน์ที่คุณจะดึงออกมาได้ ฉันจะได้รู้อะไรบ้าง เรื่องนี้จะให้อะไรฉันบ้าง ฉันจะได้ลองอะไรใหม่ ๆ บ้าง เป็นต้น
เพราะฉะนั้นเมื่อคุณรู้สึกว่าคุณกำลังกลัวอยู่ คุณจะแน่ในอย่างไรว่านั่นเป็นความกลัวจริง ๆ คุณอาจจะกำลังตื่นเต้นที่จะได้ทำอะไรใหม่ ๆ คุณอาจจะกำลังตื่นเต้น ที่จะได้ก้าวข้ามไปสู่ผลลัพธืที่คุณคาดหวังอยู่ก็ได้
2.ทำทันที
“ทำทันที” หรือก็คือกัดฟันลุยนั่นแหล่ะ อาจจะดูเป็นวิธีที่บ้าบิ่น แต่เป็นหนึ่งวิธีที่จะทำให้คุณก้าวข้ามความกลัวที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งเช่นกัน
เพราะว่าเมื่อคุณมีควมกลัว ความคิดในหัวคุณจะค่อย ๆ ผุดออกมาเรื่อย ๆ มีละข้อสองข้อ เมื่อคุณคิดวนไปวนมา คุณจะสร้างเหตุผลที่สนับสนุนความกลัวของคุณนั้นขึ้นมาเรื่อย ๆ และเมื่อความคิดเหล่านั้นเริ่มทับถมกัน เริ่มก่อตัวสูงขึ้น ก็มีโอกาสสูงขึ้นที่คุณจะเลือกหันหน้าหนีออกจากความท้าทายตรงหน้า
ลองคิดถึงการฝึกโดดหอครั้งแรกในตอนที่หลาย ๆ คนเรียนลูกเสือ คนที่เลือกขึ้นไปโดดหอหลายคน ตั้งใจว่าจะพาตัวเองขึ้นไปเจอประสบการณ์ใหม่ ๆ “ตอนที่ยังอยู่บนพื้น” แต่ตอนที่ตัวเองขึ้นไปยืนอยู่ที่จุดเตรียมโดดกลับออกอาการขาสั่น ขาอ่อนยืนไม่อยู่ ซึ่งครูฝึกผู้ดูแลจะใช้วิธีนับเลข และออกเสียงเชียร์เพื่อนที่กำลังโดดอยู่ก่อนหน้าเรา ครูจะนับแนะเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นว่าจะมีขั้นตอนอย่างไร และก่อนจะโดดจะมีการให้สัญญาณ 3..2..1.. โดด! และเมื่อครูพูดว่าโดดปุ๊บ เด็กจะโดดโรยตัวลงมาทันที เพราะถ้าหากว่าครูให้เด็กยืนค้างเติ่งอยู่บนจุดปล่อยตัว โดยที่บอกว่าให้หายใจลึก ใจเย็น ๆ ไม่น่ากลัวหรอก โอกาสสูงมากที่เด็กจะเลือกไม่โดด และเดินกลับลงมาเฉย ๆ
Keyword ของสถานการณ์ตัวอย่างนี้ก็คือ ให้สัญญาณและกัดฟันลุยทันที เพราะเหมือนกันกับการโดดหอ ถ้าคิดนาน ถ้ารอนาน คุณอาจจะพลาดโอกาสที่จะผลักดันตัวเองให้เจอกับประสบการณ์ใหม่ก็เป็นได้
แต่อย่างไรก็ตาม การทำอะไรโดยที่ไม่คิดเลยก็คงจะเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสักเท่าไหร่ การทำอะไรโดยที่ไม่คิดถ้าให้เปรียบเทียบก็คงจะเหมือนกับการโดดหอโดยที่ไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกันให้ครบนั่นเอง ดังนั้นคิดให้ถี่ถ้วน และเมื่อตัดสินใจว่าพร้อมและต้องทำ ถึงตอนนั้นคือตอนที่คุณจะต้องให้สัญญาณกับตัวเองแล้ว “ลุย!” ทันทีโดยที่ไม่ลังเล
3.หาบทเรียน
ทุกอย่างบนโลกมีขาวและมีดำ ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีทั้งประโยชน์และโทษปะปนกันทั้งหมด ในตอนที่คุณเห็นประโยชน์จากสิ่งหนึ่งมาก ๆ คุณก็ยินดีที่จะมองข้ามผลกระทบด้านลบไปได้ง่าย ๆ เช่น คุณชอบกินขนมและอยากกินขนมมาก และคุณก็รู้ด้วยว่าการกินอาหารที่ไม่สมดุลจะมีผลเสียกับสุขภาพคุณอย่างไร สุดท้ายคุณก็เลือกที่จะกินจนตัวเองพอใจ โดยที่ไม่ได้สนใจผลกระทบด้านสุขภาพเลย คุณแค่บอกตัวเองว่า “เดี๋ยวค่อยลด” แล้วก็กินอย่างมีความสุข เป็นต้น
คิดแบบนี้แล้วในทางกลับกัน เรี่องที่คุณ “กลัว” ก็ย่อมจะมีประโยชน์ หรือบทเรียนบางอย่างที่คุณสามารถดึงมาเรียนรู้และพัฒนาตัวเองต่อได้เหมือนกัน
ซึ่งถ้าคุณสามารถมองหาบทเรียน หรือประโยชน์ที่คุณจะได้จากสิ่งที่คุณกลัวหรือกังวลได้ คุณก็จะสามารถกระตุ้นตัวเองให้ลงมือทำได้มากกว่า การเอาแต่คิดถึงข้อเสียที่จะเกิดขึ้น เพราะในเมื่อคุณเห็นประโยชน์ที่คุณจะได้ จากการลงมือทำมากขึ้นกว่าเดิม เหตุผลในการ “ไม่ทำ” ของคุณก็จะน้อยลงตามไปด้วย

4.คิดมุมต่าง
เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับจริง ๆ ว่า “มุมมอง” ของเราคนเดียว ไม่ใช่ความจริงทุกอย่างบนโลกนี้ มุมมองของเราที่บอกตัวเองว่า “กลัว” บางเรื่องอยู่ เรื่องเหล่านั้นอาจจะไม่ใช่ความ “กลัว” ของคนอื่นก็ได้ แล้วมุมมองของเขาคืออะไร อะไรที่ทำให้เขาไม่กลัว ? เพราะถ้าคุณคิดว่าคุณกำลังกลัวบางอย่างอยู่ แสดงว่าคุณกำลังมองเห็นผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นมันไม่คุ้มกับผลทางบวกที่คุณจะได้รับ แล้วถ้าสิ่งที่คุณคิด ไม่ได้เป็นความจริงล่ะ ? เพราะบางคนก็มีมุมมองที่เห็นประโยชน์อย่างอื่นมากกว่าที่คุณเห็น และนั่นทำให้พวกเขาไม่กลัวที่จะลงมือทำสิ่งที่พวกเขาตั้งใจว่าจะทำ
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณกำลังกลัวที่จะเข้าสัมภาษณ์งานที่บริษัทในฝันของคุณ แล้วคุณรู้สึกกลัวขึ้นมา ให้คุณลองคิดถึงคนที่คุณคิดว่าเขาน่าจะไม่กลัวสถานการณ์นี้เลย อะไรทำให้เขาไม่กลัว คุณอาจจะกำลังกลัวว่าคุณจะไม่มีคุณสมบัติมากพอที่จะเข้าทำงานที่นี่ คุณกลัวว่าเขาจะไม่ยอมรับคน ในขณะที่คนที่ไม่กลัวอาจจะคิดถึงแต่ว่า เขาจะสามารถเข้ามาสร้างผลลัพธ์ให้บริษัทอย่างไรได้บ้าง เขาจะสร้าง Impact หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงใดได้บ้างให้กับองค์กรในฝันของเขา
บางครั้งการหันมามองมุมมองของคนอื่น ที่ไม่เคยเป็นตัวเลือกอยู่ในสารระบบของคุณเลย อาจจะทำให้คุณเจอแนวคิดใหม่ ๆ ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณสามารถเอาชนะความกลัวของตัวเอง และกล้าที่จะลงมือทำสิ่งที่คุณไม่กล้าทำมาก่อนก็เป็นได้
5.ตั้งคำถามที่ดีให้ตัวเอง
บ่อยครั้งที่ความกลัวทำให้คุณมีมุมมองที่แคบลง คุณมีแต่ความคิดวนเวียนกับสิ่งที่คุณไม่อยากจะให้เกิดขึ้นอยู่เต็มหัวไปหมด จนคุณไม่ทันคิดถึงเส้นทางอื่นที่จะสามารถสร้างผลลัพธ์ให้คุณได้ หรือบางครั้งความกลัวก็เป็นเหมือนหมอกทึบที่ทำให้คุณมองไม่เห็นหนทางข้างหน้า ทั้ง ๆ ที่เส้นทางที่หมอกเหล่านั้นบดบังอยู่ เป็นความฝันและเป้าหมายที่สำคัญบางอย่างในชีวิตคุณ
เทคนิคสุดท้ายนี้เป็นการตั้งคำถามง่าย ๆ ให้ตัวเอง คำถามที่จะกระตุ้นให้คุณคิดถึงผลลัพธ์ทางบวกที่คุณอยากจะได้ กระตุ้นให้คุณคิดถึงเป้าหมายที่คุณต้องการ และความสำคัญที่เป้าหมายหรือผลลัพธ์นั้นมีต่อคุณ
ตัวอย่างคำถามที่คุณใช้ถามตัวเองได้ถ้าหากว่ามีความกลัวเกิดขึ้น
ถ้าฉันไม่กลัว จะเกิดอะไรขึ้นกับฉันนะ ?
ถ้าฉันไม่กลัว ฉันจะสามารถทำอะไรได้เพิ่มขึ้นบ้างนะ ?
ถ้าฉันไม่กลัว ชีวิตฉันจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างนะ ?
คำแนะนำสุดท้ายสำหรับคนที่รักในการพัฒนาตัวเอง หวังดีต่อผู้คนรอบตัวคุณและอยากจะแนะนำเทคนิคเหล่านี้ให้คนอื่นได้รับรู้ เจตนาดีของคุณเป็นสิ่งสวยงามและน่าชื่นชม และเจตนานี้จะส่งผลดีที่สุดต่อคนที่คุณอยากจะแนะนำเทคนิคเหล่านี้ต่อเมื่อเจ้าตัว “ต้องการ” ที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้เท่านั้น เหมือนกันกับคุณที่สมัครใจจะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยตัวเอง คนอื่นที่จะสามารถใช้เทคนิคเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จำเป็นจะต้อง “สมัครใจ” ที่จะแก้ปัญหานี้ด้วยตัวของเขาเองเช่นกัน
วิธีที่ง่ายที่สุดที่คุณจะรู้ได้ว่าเขาอยากจะจัดการกับปัญหาเหล่านั้นก็คือการ “ถาม” นั่นเอง ถามเข้าไปตรง ๆ เลยว่าอยากจะจัดการกับความกลัวเหล่านี้ไหม ถ้าใช่ ยินดีด้วย คุณสามารถส่งต่อสิ่งที่มีประโยชน์ให้คนรอบตัวคุณเอาไปพัฒนาชีวิตของเขาได้แล้ว แต่ถ้าไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องน่าเสียดาย นั่นแค่หมายความว่าพวกเขายังไม่พร้อมที่จะจัดการกับเรื่องนี้ในตอนนี้แค่นั้นเอง แต่ถ้าคุณได้ออกปากเสนอวิธีทางแก้ปัญหากับเขาไปแล้ว ถ้าวันหนึ่งถึงเวลาที่เขาตัดสินใจจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้แล้ว พวกเขาก็จะหันมาปรึกษาคุณเอง ด้วยความสมัครใจของพวกเขาเอง
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line : @LifeEnricher
Facebook: TheLifeEnricher
โทร: 02-017-2758, 094-686-6599