Hypnosis คืออะไร?

            “สะกดจิต” เมื่อได้ยินคำนี้ หลายๆท่านอาจจะนึกถึงโชว์ หรือการแสดงบางอย่าง ที่เป็นชายใส่ผ้าคลุมตัวยาว ในมือถือนาฬิกาคล้องโซ่ แล้วทำการสะกดจิตผู้ชมที่ขึ้นมาร่วมกิจกรรม จากนั้นออกคำสั่งให้ผู้ชมคนดังกล่าวกระทำอะไรบางอย่าง “จงกลายเป็นไก่” หรือบางอคนอาจจะนึกถึงพลังเหนือธรรมชาติที่ควบคุมสติ ความคิด และการกระทำของคนตรงหน้าให้เป็นไปตามที่ผู้สะกดจิตต้องการ

             แต่จริงๆแล้ว “การสะกดจิต” คือหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาอาการต่างๆมาตั้งแต่อดีตกาล และมีบทพิสูขน์ทางวิทยาศาสตร์ และประสาทวิทยา เกี่ยวกับการทำงานของสมองและสื่อรับรู้ด้วย ในบทความนี้จะพูดถึง ประวัติความเป็นมาของการสะกดจิต กระบวนการทำงานของหลักการสะกดจิต โดยอิงจากข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ประโยชน์ของการสะกดจิต และความเข้าใจในแบบผิดๆ

ประวัติ

             การสะกดจิต เป็นหนึ่งเครื่องมือในการรักษาแขนงหนึ่ง มีบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ชื่อเรียกว่า “การสะกดจิต” แต่จะปรากฏให้เห็นอยู่ในรูปแบบต่างๆ บ้างก็อยู่ในลัทธิบางอย่าง บ้างก็ถูกนำไปใช้ในการรักษาอาการบางประเภท บ้างก็ถูกกล่าวถึงในเชิงของพลังเหนือธรรมชาติอย่างหนึ่ง

             การสะกดจิตถูกกล่าวถึงในเชิงวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก ในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยนายแพทย์ Franz Mesmer ซึ่งคุณ Mesmer ได้นำวิธีการสะกดจิตมาปรับใช้ในการรักษาคนไข้ในกรุงเวียนนา และกรุงปารีส แต่ด้วยความเข้าใจผิดๆของคุณ Mesmer ที่เข้าใจว่าการสะกดจิต เป็นการรักษาด้วยการใช้พลังงานที่มองไม่เห็นอย่างหนึ่งที่ไหลผ่านจากนักสะกดจิตไปถึงคนไข้ ทำให้เขาไม่ได้รับความไว้วางใจในเชิงวิทยาศาสตร์ วิธีการของคุณ Mesmer ถูกเรียกตามชื่อของเขาว่า “Mesmerism” ที่มีความหมายว่า “การสะกดจิต” เหมือนกัน แต่เป็นการสะกดจิตด้วยความเข้าใจที่แตกต่างจาก Hypnosis หรือศาสตร์การสะกดจิตในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการใช้อย่างผิดๆไมได้จบเท่านั้น หลังจาก Mesmerism เริ่มเป็นที่รู้จัก บุคลากรทางการแพทย์หลายคนก็เริ่มนำศาสตร์นี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย

             จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 19 James Braid นายแพทย์ชาวอังกฤษเริ่มศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของการสะกดจิต คุณ Braid เริ่มสนใจการสะกดจิตจากการดูการสาธิตการสะกดจิตของนักสะกดจิตชื่อ La Fontiane ซึ่งในการสาธิตนั้น ซึ่งที่ดึงความสนใจของคุณ Braid คือ ในระหว่างที่ทำการสะกดจิต ดวงตาของผู้ถูกสะกดจิตมองไปที่นักสะกดจิตอย่างไม่ละสายตา ซึ่งทำให้ Braid ตระหนักได้ว่า ความสำคัญของดวงตาที่จับจ้องสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะทำให้เกิดความมึนงง และเมื่อ Braid ทำการศึกษา ทำให้เขารู้ว่า สถานะ ”ภวังค์” (trance) การเข้าไปอยู่ในภวังค์นี้จะคล้ายกับเวลาที่คนเรากำลังนอนหลับอยู่ ถึงแม้ว่าในตอนนั้นผู้ถูกสะกดจิตจะตื่นอยู่ก็ตาม และทำให้เราบัญญติคำที่ใช้เรียกการสะกดจิตว่า Hypnosis ซึ่งอ้างอิงมาจากเทพแห่งการนอนหลับของชาวกรีก Hypnos นั่นเอง

            ต่อมาในช่วงปี 1880 Hypnosis ถูกแพร่หลายและได้รับความสนใจอย่างมาก หนึ่งในผู้ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับศาสตร์การสะกดจิตนี้คือนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส Auguste Liébeault ที่เคยใช้วิธี Mesmerism มาก่อน Liébeault ร่วมมือกับ Hippolyte Bernheim ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัย Strasbourg ในประเทศฝรั่งเศส พวกเขาพัฒนาศาสตร์การสะกดจิตและ Liébeault ได้ใช้วิธีการสะกดจิต รักษาอาการปวดสะโพกของคนไข้ให้หายได้ภายในเวลาชั่วข้ามคืน พวกเขาได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับการสะกดจิตในรูปแบบนี้ว่า เป็นการสะกดจิตที่ไม่มีกระบวนการสัมผัสร่างกาย หรือใช้แรงกับร่างกายผู้ถูกสะกดจิตแต่อย่างใด แต่เป็นการสะกดจิตที่เป็นการตอบสนองต่อคำแนะนำโดยที่มีจิตเป็นสื่อกลาง และพวกเขาร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนการสะกดจิตแนนซี่ (Nancy school of Hypnosis) ในเวลาต่อมา

             ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น นายแพทย์ชาวออสเตรเลีย Sigmund Freud เดินทางมาที่ประเทศฝรั่งเศส และหลังจากที่เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการสะกดจิต เขารู้สึกประทับใจกับศักยภาพในการรักษาโรคทางประสาทของ Hypnosis เมื่อเขากลับไปที่กรุงเวียนนา Freud ได้นำ Hypnosis มาประยุกต์ใช้ในการรักษา โดยเขาใช้ Hypnosis ในการค้นหาเหตุการณ์บางอย่างที่เป็นต้นเหตุของโรคประสาทบางประเภทที่คนไข้อาจจะลืมไปแล้ว ต่อมาเขาพัฒนาการสะกดจิตแบบ “การบำบัดด้วยคำพูด” (Psychoanalysis) แต่ด้วยธรรมชาติของการบำบัดแนวจิตวิเคราะห์ของเขามีผลทำให้กลายเป็นความคั่งแค้นในทางจิตวิทยา บวกกับระยะเวลาที่ Freud ใช้ในการรักษาร่วม 100-300 ชั่วโมง ทำให้สุดท้ายแล้วแนวคิดนี้ก็ค่อยๆจางหายออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของการสะกดจิต

             ในปี 1890 ช่วงไล่เลี่ยกันกับที่ Freud เริ่มใช้ Hypnosis คุณ William James เขียนหนังสือที่เรียกได้ว่า หากคุณต้องการที่จะเรียนรู้และฝึกฝนเรื่องการสะกดจิต ชื่อว่า Principles of Psychology “หลักจิตวิทยา” ที่อธิบายถึงโปรแกรมภาษาศาสตร์ทางระบบประสาท และรูปแบบอื่นๆที่มีผลแทรกแซงต่อผู้ถูกสะกดจิต

Scientific approach

             แน่นอนว่าเมื่อการสะกดจิตเป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์แล้ว จะต้องมีการศึกษาและวิจัยกระบวนการทำงานของการสะกดจิต และสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ถูกสะกดจิต Dr. David Spiegel นักวิจัยจาก Stanford ได้ทำการวิจัยและพบเห็นความเปลี่ยนแปลงของสมองมนุษย์ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ถูกสะกดจิตอยู่

             Spiegel กล่าวว่า “ตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนที่ตอบคำถามพื้นฐานที่สุดได้ว่า เกิดอะไรขึ้นในสมองของผู้ถูกสะกดจิต ในระหว่างที่ถูกสะกดจิตอยู่” ดังนั้นอย่างแรกที่เขาเริ่มทำคือการหาคนที่สามารถถูกสะกดจิตได้ และคนที่ไม่สามารถหรือถูกสะกดจิตได้ยากมาเป็นแบบอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ โดย Spiegel และทีมของเขาคัดเลือกผู้เข้าร่วม 57 ราย จากรายชื่อทั้งหมด 545 คนที่มีสุขภาพดีรอบด้าน ใน 57 คนนั้นมี 36 คนที่ตอบสนองดีกับการสะกดจิตมาก หรือเรียกว่ากลุ่มที่ถูกสะกดจิตได้ง่าย และ 21 คนที่อยู่ในกลุ่มที่ตอบสนองกับการสะกดจิตได้น้อยมาก จนแทบจะไม่มีการตอบสนองใดๆเลย โดยสาเหตุที่ Spiegel เลือกคนสองกลุ่มที่มีการตอบสนองต่างขั้วกันขนาดนี้ เหตุผลของ Spiegel คือ “กลุ่มทดสอบที่ตอบสนองน้อยที่เรียกว่า “กลุ่มควบคุม” นี้สำคัญมาก เพราะพวกเขาจะเป็นตัวชี้วัดได้อย่างชัดเจนว่าการตอบสนองของสมองส่วนใดที่เรียกได้ว่าเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการสะกดจิต”

           กระบวนการวัดการทำงานของสมองที่ Spiegel และทีมงานเลือกใช้คือการใช้ MRI ที่แสดงผลของการทำงานของสมองด้วยการวัดกระแสเลือดที่ไหลเข้าไปในสมองส่วนต่างๆ Spiegel พบ 3 สิ่งที่ชัดเจนมากๆที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มผู้ที่ถูกสะกดจิตได้ง่ายในขณะที่ถูกสะกดจิตอยู่

             อย่างแรกคือ พวกเขาเห็นการทำงานที่ลดลงของสมองส่วน dorsal anterior cingulate หรือสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ Spiegel อธิบายเหตุการณ์นี้คือ “ในระหว่างที่คุณถูกสะกดจิตอยู่ คุณจะจดจ่อกับมันมากเสียจนคุณไม่ได้กังวล หรือแม้แต่จะคิดถึงเรื่องอื่นๆเลย”

             อย่างที่สองคือ พวกเขาเห็นการทำงานร่วมกันที่มากขึ้นของส่วน dorsolateral prefrontal cortex และ insula ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เชื่อมโยงกับร่างกาย เป็นสมองส่วนที่ประมวลและควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์

             และอย่างสุดท้ายที่เห็นคือ การเชื่อมโยงที่น้อยลงของสมองส่วน dorsolateral prefrontal cortex และ Default mode network ที่ประกอบไปด้วย medial prefrontal  และ posterior cingulate cortex ซึ่งการเชื่อมโยงที่ลดลงนี้บ่งบอกถึง ความไม่เชื่อมโยงกันของการกระทำบางอย่าง และการรับรู้การกระทำนั้นๆ Spiegel อธิบายว่า “ในระหว่างที่ถูกสะกดจิตอยู่  ความไม่เชื่อมโยงในลักษณะนี้ ผู้ถูกสะกดจิตสามารถให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอะไรบางอย่างที่นักสะกดจิตพูด หรือแนะนำ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีชุดคำสั่งจากสมองมา “บังคับ” ตัวเองให้ทำอะไรบางอย่าง” เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า “การตอบสนองในเชิงนี้คล้ายกับเวลาที่คุณโฟกัสกับบางสิ่งบางอย่างมากๆ จนคุณไม่ได้คิดว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ คุณแค่ลงมือทำมันเฉยๆ”

             หลังจากที่ Spiegel มองเห็น 3 สิ่งนี้ เข้าพูดส่งท้ายว่า “การสะกดจิต เป็นเครื่องมืออันทรงพลังอย่างหนึ่ง ที่ใช้เปลี่ยนแปลงวิธีที่เราใช้สมองควบคุมมุมมองและร่างกายของเรา”

ประโยชน์

             สำหรับผู้ที่สามารถถูกสะกดจิตได้ง่ายนั้น ใน ทางการแพทย์การใช้วิธีสะกดจิตช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง ความเจ็บปวดในระหว่างคลอดบุตรของสตรี ได้ผลดีมาก นอกจากนั้นยังสามารถช่วยสนับสนุนการเลิกบุหรี่ ประสบการณ์ที่เป็นบาดแผลฝังลึก และช่วยลดอาการกังวลหรือความหวาดกลัวบางอย่าง (Phobia)

             นอกจากประโยชน์ในทางการแพทย์แล้วนั้น ยังพบว่าการสะกดจิตยังใช้เพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง หรือเพิ่มคุณภาพชีวิตในชีวิตประจำวันได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ เดินละเมอ การเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง การลดน้ำหนัก

 

ความเข้าใจผิดๆ

             ถึงแม้ว่าการสะกดจิตจะถูกตีความหมายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับในอดีตที่ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพลังงานที่ตีความหมายไม่ได้ หรือการสะกดที่โยงกับลิทธิต่างๆก็ตาม ในปัจจุบันการสะกดจิตก็ยังมีความเข้าใจผิดๆให้เห็นอยู่เรื่อยๆ นี่คือตัวอย่าง 6 หัวข้อ ที่หลายๆคนอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสะกดจิต

             1.การสะกดจิตสามารถใช้ได้กับทุกคน

             คำตอบสั้นๆง่ายๆคือ “ไม่” การสะกดจิตไม่สามารถทำได้กับทุกคน ผลวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีเพียง 10% เท่านั้นที่สามารถใช้การสะกดจิตได้ดีมากๆ พูดง่ายๆคือถูกสะกดจิตได้ง่ายมากๆ และประชากรในส่วนที่เหลือ “อาจจะ” สามารถสะกดจิตได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวผู้ถูกสะกดจิตจะต้องยินยอมและไว้ใจผู้สะกดจิตเท่านั้น ไม่เช่นนั้นการสะกดจิตจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

 

              2. ผู้ถูกสะกดจิตจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลยเมื่อถูกสะกดจิตอยู่

             ถ้าคุณกังวลว่านักสะกดจิตจะใช้ศาสตร์การสะกดจิตเพื่อหวังผลประโยชน์บางอย่างจากคุณ คุณเลิกกังวลไปได้เลย เพราะว่าใน ระหว่างสะกดจิตอยู่ คุณยังมีสติอยู่เต็ม 100% คุณจะยังรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว คุณจะรู้ว่านักสะกดจิตกำลังถามอะไรคุณอยู่ กำลังบอกให้คุณทำอะไรอยู่ และถ้าคุณรู้สึกไม่โอเคที่จะทำมัน คุณก็จะไม่ทำมัน ดังนั้นสบายใจหายห่วงได้ว่าคุณจะไม่ถูกนักสะกดจิตไร้คุณธรรมมาสะกดจิตให้คุณโอนเงินทั้งบัญชีของคุณให้เขาแน่นอน เพราะคุณก็จะแค่หันมาตอบเขาว่า “ไม่มีทาง” แค่นั้นเอง

 

              3. ผู้ถูกสะกดจิตจะไม่โกหก และจะพูดแต่ความจริงเท่านั้น

             อย่างที่อธิบายในในข้อที่แล้ว การสะกดจิตไม่ได้ทำให้คุณเสียการควบคุมตัวเองไป ถึงแม้ว่าคุณจะเปิดรับฟังคำแนะนำได้มากกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าเวลาที่คุณอยู่ในสภาวะปกติ แต่คุณยังคงมีสติอยู่กับตัวเองเต็มที่ ดังนั้นไม่มีใครบังคับกระบวนการไตร่ตรองก่อนที่จะพูดของคุณได้ เพราะฉะนั้นคำตอบคือ การสะกดจิตไม่สามารถทำให้ผู้ถูกสะกดจิตพูดแต่ความจริงได้

              4. การถูกสะกดจิตคือการหลับ

             คุณอาจจะดูเหมือนหลับอยู่ แต่คุณตื่นตัวอยู่แน่นอน สภาวะถูกสะกดจิตจะทำให้คุณอยู่ในสถานะที่ผ่อนคลายมากที่สุด กล้ามเนื้อคุณจะผ่อนคลาย ลมหายใจคุณจะเริ่มช้าลงและยาวขึ้นคล้ายกับตอนนอน และคุณอาจจะรู้สึกง่วงได้ แต่มั่นใจได้เลยว่าคุณตื่นตัวอยู่แน่นอน

 

              5. คุณสามารถถูกสะกดจิตผ่านทางอินเตอร์เนตได้

             ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ก้าวหน้าตลอดเวลา อะไรๆก็ดูเหมือนจะทำในระบบออนไลน์ได้เสียทุกอย่าง แน่นอนว่าการสะกดจิตก็เป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในระบบออนไลน์นี้เช่นกัน และมีการพัฒนา Application สำหรับการสะกดจิตเพื่อเป้าหมายต่างๆอีกด้วย แต่หลังจากที่นักวิเคราะห์และผู้มีประสบการณ์ด้านการสะกดจิตได้ทดลองใช้และตรวจสอบพบว่า ไม่มีนักสะกดจิตมืออาชีพที่มีใบอนุญาต หรือองค์กรที่เกี่ยวกับการสะกดจิตมีส่วนร่วมในการพัฒนา Applications เหล่านี้เลย ดังนั้นนักสะกดจิตและแพทย์ส่วนใหญ่จึงไม่แนะนำให้ใช้งาน Applications เหล่านี้ เพราะฉะนั้นคำตอบในตอนนี้คือ การสะกดจิตทางออนไลน์น่าจะเป็นไปได้ยากมากจนพูดได้ว่าไม่สามารถทำได้ แต่หากว่าในอนาคตมีผู้พัฒนาที่ร่วมมือกับนักสะกดจิตมืออาชีพหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง สร้าง Application เหล่านี้ขึ้นมา การสะกดจิตตัวเองผ่านเครื่องมือเหล่านี้อาจจะเป็นไปได้ก็เป็นได้ในอนาคต

 

             6. การสะกดจิตสามารถทำให้คุณ “จำ” เรื่องราวบางอย่างที่คุณลืมไปแล้วได้

             หลายคนเข้าใจว่าการสะกดจิตสามารถทำให้คุณระลึกถึงหรือเรียกความทรงจำที่หายไปกลับมาได้ เหมือนกับเวลาที่คุณกู้ไฟล์ข้อมูลจาก Drive ที่เสียแล้วกลับมาได้ คำตอบในข้อนี้จะดูคลุมเครือสักหน่อย เพราะวิทยาการในปัจจุบันยังไม่สามารถชี้เฉพาะได้ว่า “ความทรงจำ” ส่วนไหนของคุณหายไปอย่างเป็นรูปธรรมได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่าการสะกดจิตสามารถกู้ความทรงจำกลับมาได้ นักสะกดจิตให้ความเห็นว่า การ “กู้ความทรงจำ” น่าจะเป็นการสร้างข้อมูลความทรงจำขึ้นมาใหม่มากกว่าการกลับไประลึกถึงสิ่งที่หายไปจริงๆ หรือก็คือแทนที่จะจำเรื่องที่ลืมไปได้ กลายเป็นว่ามันเป็นการสร้างความทรงจำ “ปลอม” ขึ้นมาเสียมากกว่า นี่จึงเป็นเหตุผลที่นักสะกดจิตมืออาชีพหลายคนอาจจะลำบากใจในการใช้การสะกดจิตเรียกความทรงจำ หรือบางคนอาจจะปฏิเสธตรงๆเลยว่าจะไม่ใช้เครื่องมือนี้ในเชิงนี้

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Line : @LifeEnricher

Facebook: TheLifeEnricher

โทร: 02-017-2758, 094-686-6599

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า