Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

...บริหารทีมอย่างไรให้มี Productive มากขึ้น...
วิกฤตที่ดูจะไม่จบไม่สิ้นสักที หลายองค์กรหลายธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของตัวเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทุกคนต้องปรับตัวกัน ธุรกิจร้านอาหารก็ต้องมองหาการส่งสินค้าของตัวเองไปให้ถึงมือลูกค้า โรงแรมหรือสถานที่จัดเลี้ยงจัดกิจกรรมก็ต้องพยายามหาทางนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ ที่จะตอบโจทย์การใช้งานในยุคปัจจุบัน พูดง่าย ๆ ก็คือธุรกิจที่หวังการทำกำไรด้วยลูกค้า offline ที่ต้องเดินเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการถึงที่ก็ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตาม ๆ กัน
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ แน่นอนว่ากระทบกันมาทั้งสายการทำงาน ตั้งแต่เจ้าของบริษัทยันพนักงานใหม่ เจ้าของก็ต้องนั่งคิดวิธีที่จะทำให้องค์กรเดินไปข้างหน้าต่อไปถึงแม้ว่าจะมีวิกฤตก็ตาม ผู้บริหารทั้งหลายก็ต้องวางแผนปรับตัวการทำงานให้ผลลัพธ์ออกมาตามเป้า และทีมงานทุกคนก็ต้องรับมือกับหน้าที่รับผิดชอบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแน่นอนว่าก็ไม่ใช่ทุกคนจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีไปเสียทั้งหมด ขนาดเวลาทำงานปกติยังมีปัญหาเกิดขึ้นเลย แล้วยิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย แน่นอนว่าปัญหาออกมาไม่หยุดหย่อนแน่นอน ยิ่งบริษัทส่วนมากในไทยมีความคุ้นชินกับการทำงานที่ออฟฟิศ การทำงานแบบ Offline เจอหน้ากัน พอถึงตอนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปทำงาน online แบบที่แค่ได้ยินเสียงกับเห็นหน้ากันผ่านจอก็คงจะต้องมีอะไรต้องปรับกันพอสมควร
แต่ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลก็เหมือนจะมาเป็นคอขวดอยู่ในที่เดียวก็คือปัญหาที่ว่าเมื่อมีการ Work from home พนักงานหลาย ๆ คน ทีมงานของเรา Productivity ต่ำลง และแน่นอว่าเมื่อความ Productive น้อยลง ประสิทธิภาพในการทำงานก็ต่ำลง ปัญหาอย่างอื่นที่ตามมาก็แก้ได้ช้าลง ทำให้ผลลัพธ์โดยรวมขององค์กรออกมาไม่น่าพอใจนัก คุณในฐานะผู้นำที่มีคุณภาพก็คงจะไม่ได้มีหน้าที่แค่ชี้นิ้วสั่งแล้วนั่งรอผลลัพธ์จากทีมเพียงอย่างเดียว ผู้นำคือหนึ่งในบุคคลที่มีส่วนในการทำงานของทีมมากถึงมากที่สุด และผู้นำที่ดีจะสามารถเพิ่ม Productivity ของทีมงานในสภาวะฉุกเฉิน หรือแม้แต่ในสภาวะปกติได้ดี ด้วยเทคนิคง่าย ๆ 8 ข้อต่อไปนี้
Communication
“ การสื่อสาร “ คือพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ อย่าว่าแต่การทำงานร่วมกันเลย ถ้าการสื่อสารไม่ดี จะอยู่ร่วมกันก็ยังลำบาก แล้วยิ่งต้องทำงานด้วยกัน ต้องสื่อสารแจ้งข้อมูล ขอความช่วยเหลือ ฯลฯ ถ้าเกิดว่าสื่อสารไม่ดีแล้วล่ะก็ บรรยากาศการทำงานก็คงจะไม่ราบรื่นเท่าที่ควร
แล้วยิ่งต้องมาทำงานแบบ online ที่การสื่อสารเกิดขึ้นต่ำลงกว่าการทำงาน offline ปกติชนิดที่ว่า ปกติเจอหน้ากันทุกวัน วันละ 7 ชั่วโมง ตอนนี้กลายเป็นว่าจะเห็นหน้าหรือได้ยินเสียงกันเฉพาะตอนที่ต้องติดต่อเรื่องจำเป้นเท่านั้น ใน 1 วันอาจจะได้มีปฎิสัมพันธ์กันไม่ถึง 15 นาทีด้วยซ้ำ ซึ่งการขาดการสื่อสารกันลักษณะนี้ อาจจะทำให้ทีมงานของคุณไม่มีพื้นที่ที่จะถกปัญหา หรือว่าได้ระบายความคับข้องใจในการทำงาน จนเกิดเป็นปัญหาเบื้องหลังที่อยู่ ๆ คนนี้ก็ไม่ชอบทำงานกับคนนู้น อยู่ ๆ คนนู้นก็ไม่อยากจะยุ่งกับคนนั้น ฯลฯ
ซึ่งคุณในฐานะผู้นำ มีหน้าที่ที่จะต้องสร้างพื้นที่ในการพูดคุยสำหรับทีมของคุณให้มีโอกาสได้สื่อสารเรื่องที่จำเป็นมากขึ้น พื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนได้ระบายปัญหาของตัวเอง เรื่องที่คับข้องใจเรื่องที่ไม่สบายใจ เพื่อให้พร้อมที่สุดในตอนที่จะต้องทำงานอย่างจริงจัง ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอะไรซับซ้อน เพียงแค่มี Session การประชุมร่วมกันประจำวันในช่วงเช้า ๆ สักวันละ 15 – 30 นาทีตามความเหมาะสม ให้ทีมได้พูดคุยสื่อสารกัน ซึ่งเจ้า 30 นาทีในช่วงเช้านี้ ก็ไม่น่าจะรบกวนเวลาการทำงานมากมายนัก แต่ผลที่ได้คือคุณจะยกระดับการสื่อสารต่อกันในทีม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคุณและทีม รวมไปถึงระหว่างคนในทีมอีกด้วย
Empathy
เรื่องที่เป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกอย่างหนึ่ง ก็คือการ “ เข้าใจกัน “ หรือการเอาตัวเองไปอยู่ในรองเท้าของคนอื่นนั่นแหละ แต่น่าเสียดายที่สภาพแวดล้อมในการทำงานของหลาย ๆ องค์กรขาดการเข้าใจกัน ซึ่งปัญหานี้ส่วนใหญ่เลยเป็นต้นเหตุมาจากผู้นำเนี่ยแหละ
ความแตกต่างระหว่างผู้นำ กับเจ้านายจะต่างกันหลัก ๆ ก็ตรงนี้ เพราะเจ้านายคือคนที่ชี้นิ้วสั่ง “ ฉันอยากได้ผลลัพธ์แบบนี้ ไปทำให้เกิดขึ้น “ โดยที่ไม่ได้คิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับทีมหรือพนักงานของตัวเองว่า ผลลัพธ์ที่พวกเขาอยากได้จะต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง หรือว่าผลลัพธ์นั้นเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และแน่นอนว่าเจ้านายที่ชี้นิ้วสั่งอย่างเดียวจะไม่เคยเป็นคนผิดสักครั้ง เพราะความผิดพลาดเกิดจากการทำงานของทีมงานล้วน ๆ ซึ่งนั่นจะทำให้กลายเป็นว่าการที่ทีมงานจะต้องผลักดันให้ตัวเองทำได้ตามเป้าที่กำหนดยังเหนื่อยไม่พอ ยังจะต้องมารับผิดชอบความผิดที่บางครั้งอาจจะไม่ใช่ของตัวเองอีกด้วย
ดังนั้นการเข้าใจคนอื่น จึงเป็นคูณสมบัติที่ทำให้ผู้นำ แตกต่างออกมาจากเจ้านาย เพราะผู้นำที่ดี เมื่อสั่งงานไปจะต้องรับรู้ได้ทันทีว่างานที่ตัวเองมอบหมายไปสามารถเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ต้องรู้ขั้นตอนการทำงานและความเป็นไปได้ว่า ในการทำงาน online จะสามารถสร้างผลลัพธ์ในแบบที่คุณขาดหวังได้ไหม ซึ่งถ้าหากว่าคุณที่เป็นผู้นำเองยังหาวิธีในการทำงานที่คุณกำลังจะมอบหมายให้ทีมงานของคุณไม่ได้เลย คุณจะทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งถ้าคุณเริ่มเป็นคนที่เห็นในทีมงานของคุณเอง ทีมงานของคุณก็จะเริ่มซึมซับวัฒนธรรมนี้ทีละเล็กละน้อยจนการตัดสินกัน การกล่าวโทษกัน จะกลายเป็นความเข้าใจกันความเห็นอกเห็นใจกัน และเดินหน้าลุยกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Clearing
“ ผู้นำที่ดี คือผู้ฟังที่ดี “ ประโยคนี้เป็นความจริง เพราะการพัฒนาของมนุษย์เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเห็นข้อผิดพลาดของตัวเอง เห็นจุดบอดของตัวเอง และเราจะเห็นข้อบกพร่องของตัวเองได้นั้น เราจะต้องมีคนอื่นที่คอย “ สะท้อน “ ออกมาให้เราเห็นว่า สิ่งที่เราคิดว่าเราเป็น ในสายตาของคนรอบข้างนั้นเป็นอย่างไร
การ Clearing หรือการมี Session ส่วนตัวที่เปิดโอกาสให้ทีมงานของคุณได้เคลียความไม่สบายใจ และการยื่นมือเข้าไปช่วยแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จะทำช่วยสร้างความไว้วางใจในการทำงานและการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาได้มากขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้นำที่พร้อมรับฟังทุกข้อคิดเห็นจากพนักงาน คุณจะได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่คุณไม่เคยเห็นหรือรับรู้มาก่อนในชีวิตของคุณ คุณลองคิดดูง่าย ๆ ก็ได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วเราจะได้รับมุมมองนี้จากคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือคนรักของเรา แต่ส่วนใหญ่คนเหล่านี้ไม่ได้มีปฎิสัมพันธ์กับเราในแง่ของหน้าที่การงานเลย หลายคนเป็นแบบหนึ่งที่บ้าน แต่อาจจะเป็นอีกคนหนึ่งในที่ทำงาน ตัวตนที่คุณเคยเข้าใจว่าตัวเองเป็นในทุก ๆ พื้นที่ก็อาจจะไม่จริงเสมอไปก็ได้
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นำอย่างคุณได้เข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทีมงานของคุณได้ระบายความลำบากและปัญหาในการทำงานต่อไปในอนาคตด้วย อาจจะเริ่มจะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนก็ได้ ถึงแม้ว่าคุณอาจจะรู้สึกเสียดายเวลาในช่วงแรก ๆ ว่าการมานั่งคุยนั่งแลกเปลี่ยนลักษณะนี้ แต่เชื่อเถอะว่าวันนี้มันอาจจะยังเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่คุณได้ยิน แต่วันข้างหน้าที่เป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาแล้วทีมงานของคุณเลือกที่จะไม่พูดและไม่สื่อสาร วันนั้นจะเป็นวันที่คุณจัดการกับทุกอย่างแบบยากลำบากสุด ๆ

เพิ่มความ Productive ด้วยการ Empower
เมื่อพูดถึงการทำงาน หลายคนจะนึกถึงปัญหาที่ต้องแก้มาเป็นอันดับ 1 ก่อนเสมอ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรเพราะเวลาการทำงานก็มักจะมีแต่ความท้าทายในการแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว แต่ไม่ว่าจะเจอปัญหาอย่างไร อย่าลืมที่จะ “ ให้กำลังใจ “ ซึ่งกันและกันด้วย
ผู้นำหลายคนมีความคาดหวังว่าพนักงานทุกคนจะต้องสร้างผลลัพธ์ให้ได้ตามหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง ความคาดหวังนี้ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ก็คงจะดีกว่าถ้าหากว่าผู้นำเอ่ยปากชื่นชมความสำเร็จของทีมงานของตัวเองบ้าง ไม่ใช่ว่าคอยแต่จะ feedback อย่างเดียวเวลาที่เกิดปัญหาหรือความผิดพลาดขึ้น แต่การชมกันให้กำลังใจกันในตอนที่ผลงานออกมาตามเป้าก็สามารถทำได้ กับพนักงานใหม่ก็พูดชมได้กับการเรียนรู้ หรือกับพนักงานเก่าที่ทำงานได้ดีมาโดยตลอดก็สามารถแสดงความขอบคุณสำหรับการทำงานได้ดีมาตลอดก็ได้เช่นกัน ไม่ต้องรอให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดเสมอก็ได้
Objective
แน่นอนว่าถ้ามีโอกาสสื่อสารกันได้น้อยลง ความชัดเจนจะเป็นเรื่องที่ขาดไปไม่ได้ เพราะถ้าหากว่าหนึ่งวันเราไม่ได้เจอหน้ากัน ไม่ได้พูดคุยกันเหมือนเดิม เวลาที่น้อยลงก็ควรจะมีคุณภาพที่สุด
ซึ่งความชัดเจนก็คือ ผู้นำจะต้องแจกแจงอย่างละเอียดว่าหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนที่กำลังจะมอบหมายมีอะไรบ้าง ข้อควรระวังเป็นอย่างไร และที่สำคัญก็คือ การสื่อสารให้ทีมงานทราบว่างานที่พวกเขากำลังรับผิดชอบอยู่ มีผลกระทบกับองค์กรอย่างไรบ้าง เราคงจะเคยเจอกันมาไม่มากก็น้อย เวลาที่เราให้งานที่ทีมเรามองแล้วไม่เห็นว่าจะมีความสำคัญอะไรมาก ก็ทำมาแบบที่ปากกาวงแดงตีกลับไปเต็มกระดาษ นั่นเพราะว่าพวกเขาไม่รู้ถึงความสำคัญของงานชิ้นนั้นต่อองค์กร และหน้าที่ของผู้นำก็คือการสื่อสารให้ชัดเจนว่า ความรับผิดชอบของแต่ละคนจะส่งผลต่อตัวเอง สมาชิกทีมคนอื่น และองค์กรอย่างไรบ้าง และความชัดเจนนี้ก็จะทำให้ผู้นำสามารถติดตามการทำงานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย
System
การมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพคือการมอบหมายงานที่มีระบบการทำงานชัดเจน การวางโครงสร้างการทำงาน ระบบการจัดเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ การใช้งานและผลลัพธ์ที่ต้องการ คือองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ผู้นำสามารถควบคุมผลลัพธ์ที่ออกมาได้
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าการแจ้งผลลัพธ์ที่ต้องการให้กับทีมงานของเราเพียงอย่างเดียวก็เกินพอแล้ว แถมยังได้กระตุ้นให้ทีมงานของเราคิดวิธีการทำงานเป็นการพัฒนาตัวเองไปในตัว แต่นั่นเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ เพราะการทำงานแบบไม่มีระบบก็เหมือนเดิมในป่าแบบไม่มีแผนที่นั่นแหละ ถามว่าจะสามารถเดินออกมาจากป่าได้ไหม ถ้าให้ตอบก็คงจะตอบว่าได้อยู่แล้ว แต่จะใช้เวลาเท่าไหร่นั้นอีกเรื่อง แต่การมีแผนที่และเส้นทางการเดินที่ชัดเจนก็จะทำให้สามารถหาทางออกได้ง่ายกว่า และสามารถพัฒนาต่อยอดได้ด้วย
เหมือนกันกับการทำงานที่ผู้นำเวลาจะต้องสอนทีละขั้นตอน อธิบายความสำคัญของระบบอย่างชัดเจน จะทำให้ทีมงานทำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่า และถ้าทีมงานของคุณทำงานด้วยระบบนี้ไปสักระยะหนึ่งแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะมีความคิดเห็นในการพัฒนาระบบการทำงานนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม โดยที่ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ต้องการ หรือดีกว่าเดิมก็เป็นได้

Database
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นวลีที่ไม่ว่าจะได้ยินกี่ทีก็เหมือนจะเป็นเครื่องเตือนใจในทุก ๆ ครั้งที่ได้ยิน เพราะในโลกปัจจุบันมีธุรกิจที่เป็นคู่แข่งทางการตลาดโผล่ขึ้นมาอยู่ตลอด ทำให้ผู้นำและเจ้าของเกือบจะทุกคนวุ่นอยู่กับการหาข้อมูลของคู่แข่ง การมองลู่ทางในการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา
แต่เรื่องที่ควรจะต้องเตือนตัวเองอยู่ตลอดก็คือ การเก็บข้อมูลขององค์กรตัวเองให้ดี ผู้นำมือใหม่หลายท่านยังวางเรื่องนี้เป็นเรื่องรองอยู่ เพราะมัวแต่พยายามหาวิธีการแข่งขันกับคู่แข่งอยู่ ยังคิดว่าตัวเองยังเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ต้องหาลู่ทางอยู่เยอะ จนทำให้ละเลยการเก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ ไปจนทำให้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อมาเป็นไปได้ยาก เพราะเราไม่รู้ว่าจุดยืนของเราอยู่ตรงไหน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรจะก้าวไปทางไหนต่อ
และเมื่อบริษัทโตขึ้น ก็ยิ่งมีข้อมูลที่ต้องจัดการมากขึ้น ถ้าเรื่องการเงิน เรื่องคน เรื่องผลลัพธ์รายเดือนรายปี ฯลฯ การเติบโตของธุรกิจเนี่ยแหละที่จะมาพร้อมกับข้อมูลล้นทะลักที่คุณไม่สามารถจำอยู่ในหัวเหมือนตอนเริ่มต้นได้แล้ว ดังนั้นการเริ่มต้นที่ดีก็คือการจัดการระบบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ
Feed Forward
เมื่อคุณมีการจัดเก็บข้อมูลแล้ว เรื่องที่จะทำให้องค์กรเดินต่อไปก็คือการ “พัฒนา“ นั่นเอง ซึ่งการพัฒนาก็มีทั้งทำเรื่องที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไป และการแก้ปัญหา อุดรอยรั่วที่ทำให้เปิดปัญหาขึ้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีข้อมูลที่จัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ
เมื่อต้องพัฒนา ก็ต้องมีการสื่อสาร และการสื่อสารที่เหมาะสมก็คือการ Feed forward เนี่ยแหละ หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นชินกับการ feedback มากว่า เพราะการ feedback คือการตีผลลัพธ์ที่ได้กลับไปหาคนที่รับผิดชอบและแจ้งเกี่ยวกับสื่งที่อยากจะให้พัฒนามากขึ้น Feed forward คือการแนะนำว่าสิ่งที่ทำได้อยู่แล้วในตอนนี้ จะสามารถพัฒนาไปได้ถึงไหน ถ้าให้เทียบกับง่าย ๆ ก็คือการ Feedback คือการบอกว่าตอนนี้คุณควรจะต้องได้ 2 แต่ตอนนี้คุณทำได้แค่ 1 อยู่ คุณต้องทำอะไรบ้างถึงจะได้อีก 1 ที่ขาดไป แต่การ Feed forward คือการแนะนำว่าสิ่งที่คุณมีอยู่ตอนนี้ คือครึ่งหนึ่งของผลลัพธ์ที่เราต้องการแล้ว ถ้าคุณเพิ่มลงไปอีกเท่านี้ ๆ เป้าหมายไม่ไกลเกินเอื้อมแน่ ๆ
ความต่างกันก็คือ Feedback จะเป็นการเอาเป้าหมายมาตั้ง และกระตุ้นให้เต็มจนเต็มให้ได้ เหมือนบอกว่าน้ำต้องเต็มแก้วแต่ตอนนี้คุณมาได้แค่ครึ่งเดียว ไปหามาอีกครึ่งให้เต็มด้วยวิธีนี้ แต่การ Feedforward จะเป็นการบอกว่า คุณมาตั้งครึ่งนึงแล้ว อีกไม่กี่อึดใจผมว่าคุณทำให้เต็มได้แน่นอน ลองวิธีนี้ดูไหม ?
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าบริษัทหรือองค์กรจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม ไม่ต้องเป็นวิกฤตการณ์แบบในปัจจุบันก็ได้ ทั้ง 8 ข้อ ที่กล่าวมาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้นำที่ดีสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าได้ ดังนั้นถ้าหากคุณรุ้สึกว่ากำลังเจอปัญหา ลองหยุดตัวเองสักนิดแล้วมาทบทวนดูว่ามีอะไรที่ขาดไป เชื่อว่าต่อให้มีวิกฤตใหม่ ๆ มาอีกกี่ระลอกคุณก็จะสามารถ “ นำ “ องค์กรและทีมงานของคุณให้ผ่านวิกฤตเหล่านี้ไปได้แน่นอน

5.Grateful
แน่นอนว่าการเดินทางของทุกเส้นทางก็คงจะไม่ได้มีกลีบกุหลาบโรยตลอดเวลา เพราะถ้าเราอยากจะได้กุหลาบก็คงจะต้องผ่านหนามอะไรกันบ้าง วิธีที่จะทำให้คุณจัดการกับอุปสรรคได้ง่ายกว่าเดิมก็คือการ “ ขอบคุณ “ กับทุกสิ่งที่คุณเจอ เพราะการขอบคุณจะเกิดขึ้นเมื่อคุณหาประโยชน์จากสิ่งนั้นได้ ดังนั้นถ้าคุณขอบคุณปัญหา ขอบคุณอึปสรรค นั่นหมายความว่าคุณสามารถหาประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้ Appreciate the good and the bad ดังนั้นถ้าคุณสามารถขอบคุณทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี นั่นหมายความว่า ไม่ว่าเรื่องแบบไหนจะถาโถมเข้ามาในชีวิตคุณ คุณก็จะกลายเป็นคนที่สามารถหาประโยชน์และข้อดีกับทุก ๆ ประสบการณ์ในชีวิตได้อย่างแท้จริง
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line : @LifeEnricher
Facebook: TheLifeEnricher
โทร: 02-017-2758, 094-686-6599